รัฐมนตรีก.ทรัพย์ฯวอนประนามคนเผายันจนท.ทำงานเหน็ดเหนื่อย เผยคุยผู้นำเชียงดาวย้ำเกิดไฟยึดที่ทำกิน

รัฐมนตรีก.ทรัพย์ฯวอนประนามคนเผายันจนท.ทำงานเหน็ดเหนื่อย เผยคุยผู้นำเชียงดาวย้ำเกิดไฟยึดที่ทำกิน

รัฐมนตรีกระทรวงทรัพย์ฯวอนประณามคนเผาป่า สร้างมลพิษให้คนเชียงใหม่ เผยระดมจนท.ชุดดับไฟนอกพื้นที่เข้ามาช่วยและทำงานอย่างเต็มที่ เชื่อหลังจัดสรรที่ดิน 2-3 ปีสถานการณ์หมอกควันไฟป่าจะดีขึ้น ย้ำตั้งกติกาหากมีไฟป่าหรือจุดความร้อนเกิดขึ้นจะถูกเพิกถอนและยึดคืนที่ดินทำกิน

วันที่ 5 เม.ย.62 ที่อาคาร SME ภายในพื้นที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยมศูนย์ปฎิบัติแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าของ จังหวัดเชียงใหม่ โดยกล่าวว่า ภารกิจในวันนี้เพื่อมาเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) พื้นที่ อ.เชียงดาว  และการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่อนุรักษ์  ซึ่งมีชาวบ้านในพื้นที่ อ.เชียงดาว กว่า 300 คนเข้าร่วมประชุม

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่มีเนื้อที่ 13,865,842 ไร่ แบ่งเขตปกครอง 25 อำเภอ 204 ตำบล 2,066 หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 5,562,986 ไร่  พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 6,140,577 ไร่ ที่ ส.ป.ก.           236,118 ไร่และพื้นที่เอกสารสิทธิ์            1,926,161 ไร่ สภาพการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่มีสภาพป่า (ปี 2557)   เนื้อที่ 3,821,837 ไร่ ก่อนมติ ครม. 30 มิ.ย. 41 พื้นที่ในลุ่มน้ำ 1,2 เนื้อที่ 684,980 ไร่ พื้นที่ในลุ่มน้ำ 3,4,5 เนื้อที่ 303,706 ไร่ และหลังมติ ครม. 30 มิ.ย. 41 พื้นที่ในลุ่มน้ำ 1,2 เนื้อที่ 281,047 ไร่และพื้นที่ในลุ่มน้ำ 3,4,5           เนื้อที่ 471,379 ไร่

ซึ่งผลการดำเนินงาน คทช. จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำ 3,4,5 ก่อน 30 มิ.ย. 41 ที่จะนำมาดำเนินการ คทช.  เนื้อที่ 303,706  ไร่รังวัดแปลงที่ดินแล้ว  214,864 ไร่ นำมาดำเนินการ คทช. แล้ว  82,323 ไร่ (12 พื้นที่) ส่วนที่เหลือ 132,541 ไร่ จะเสนอดำเนินการ คทช. ภายในปี 2563 และยังไม่ได้รังวัด 88,842 ไร่ ซึ่งจะขอสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดเชียงใหม่มาดำเนินการรังวัดในปี 2563 – 2564 เพื่อที่จะเสนอดำเนินการ คทช. ในปี 2564 – 2565

รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สำหรับอำเภอเชียงดาวมีเนื้อที่ 1,403,923 ไร่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 234,543 ไร่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1,024,135  ไร่ พื้นที่ ส.ป.ก.            16,928  ไร่และ           พื้นที่เอกสารสิทธิ์      128,317  ไร่ สภาพการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่มีสภาพป่า (ปี พ.ศ. 2557-2558)   เนื้อที่  184,424 ไร่ ก่อนมติ ครม. 30 มิ.ย. 41 พื้นที่ในลุ่มน้ำ 1,2 เนื้อที่    4,630 ไร่ พื้นที่ในลุ่มน้ำ 3,4,5 เนื้อที่   72,736 ไร่ หลังมติ ครม. 30 มิ.ย. 41  พื้นที่ในลุ่มน้ำ 1,2 เนื้อที่   7,535 ไร่ พื้นที่ในลุ่มน้ำ 3,4,5 เนื้อที่  23,134 ไร่ ซึ่งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำ 3,4,5 ก่อน 30 มิ.ย. 41 ที่จะนำมาดำเนินการ คทช.  เนื้อที่ 72,736  ไร่

“ขณะนี้รัฐบาลได้แก้ไขกฎหมายรวม 5 ฉบับ เพื่อให้คนอยู่กับป่าได้ เพราะประเทศไทยมีพื้นที่ป่า ทั้งป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์มากถึง 22 ล้านไร่  มีคนอยู่  8,600,000 คน มีชุมชนอยู่กับป่า 21,000 ชุมชน แต่คนที่จะอยู่กับป่าจะต้องดูแลป่าให้สมบูรณ์ เปลี่ยนวิธีคิดให้คนอยู่กับป่า งดการเผาป่า ซึ่งเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลพิษหมอกควันได้แต่ต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีเมื่อจัดสรรที่ดินแล้วก็คงจะดีขึ้น  เพราะหากชาวบ้านต้องการที่ทำกินของรัฐ  ก็ต้องช่วยดูแลป่า ห้ามล่าสัตว์ ห้ามรุกป่า ห้ามทำลายความหลากหลายทางธรรมชาติ  หากใครฝ่าฝืนรัฐบาลก็จำเป็นต้องยึดพื้นที่ทำกินคืนแล้วนำมาเป็นที่สาธารณะชุมชนแทน”พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวและชี้แจงด้วยว่า

ปัญหาไฟป่าที่ดอยหลวงเชียงดาว หรือที่อื่นๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่ก็เกิดจากฝีมือมนุษย์ การที่คนเชียงใหม่ต้องทนกับปัญหาหมอกควันไฟป่าก็เพราะคนในพื้นที่สร้างปัญหาเอง ต้องช่วยกันประณามคนเผา ตอนนี้ทางกระทรวงทรัพย์ฯเองก็ระดมคนจากนอกพื้นที่เข้ามาเสริมทั้งจากนครศรีธรรมชาติ นครราชสีมา เพื่อเอามาสับเปลี่ยนหมุนเวียนและเสริมกำลังที่มีปัญหา เจ้าหน้าที่ทำงานกันเต็มที่ และที่จับกุมได้ก็มีถึง 173 ราย ซึ่งก็ส่งตัวดำเนินคดีทุกราย และส่วนใหญ่ที่ถูกจับได้ก็เข้าไปล่าสัตว์หาของป่าทั้งนั้น ไม่มีใครไปเผาเพื่อเอางบประมาณดับไฟ คนดับไฟทุกวันนี้ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย ควรจะช่วยกันประนามคนส่วนน้อยที่ไม่มีจิตสำนึกสร้างความเดือดร้อนให้คนส่วนมาก

ทางด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีประมาณ 30 ล้านไร่นั้น มีทั้งที่เป็นพื้นที่สภาพป่าประมาณ 30-40% และที่บุกรุกเดิมและชาวบ้านเข้าไปอาศัยอยู่ ซึ่งตามนโยบายของคทช.แล้ว ถ้าพื้นที่ไหนมีจุดความร้อนหรือ Hot Spot เกิดขึ้นซึ่งดาวเทียมสามารถลงพิกัดแปลงได้ กับพื้นที่บุกรุกก็จะมีการสอบประวัติ ถ้ามีผลทางคดีเกี่ยวกับการบุกรุก หรือล่าสัตว์ หรือมีจุดความร้อนเกิดขึ้นในช่วงที่มีมาตรการห้ามเผาก็จะถูกขึ้นแบล็คลิสต์ไว้ ถือว่าไม่เคารพกติกาและจะถูกตัดสิทธิ์ไม่จัดสรรที่ดินให้หรือยึดคืน

พลเอกสุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือก็จะคลี่คลายไปเรื่อยๆ เพราะตอนนี้จำนวนจุดความร้อนก็ลดลง มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ในพื้นที่เสี่ยงตามตำบลต่างๆ ส่วนที่ดอยหลวงเชียงดาวตอนนี้ไม่มีไฟแล้วแต่ยังมีปัญหาหมอกควันปกคลุมอยู่ ถ้าหากพื้นที่ภาคเหนือมีฝนตกก็จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น.

 

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้