รพ.สต.ห้วยโป่งขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบล-หนุนคนเลิกบุหรี่

รพ.สต.ห้วยโป่งขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบล-หนุนคนเลิกบุหรี่

“หนูไม่อยากให้พ่อกับแม่แม่สูบบุหรี่ ไม่อยากให้พ่อกับแม่ตาย” คำพูดที่สะเทือนใจของเด็กน้อยไร้เดียงสาคนหนึ่งที่พอจะรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ที่ได้รับรู้มาจากโรงเรียน พยายามสื่อไปยังพ่อกับแม่

คำพูดนั้นกลับไม่ได้ทำให้ ปวีณา สุขแก้ว วัย 38 ปี และ จำรูญ รัตนชัยธิติกุล วัย 43 ปี แม่กับพ่อรู้สึกยี่หระ  ทั้งคู่ยังสูบบุรี่เรื่อยมานานหลายปี อย่างน้อยวันละ 2-5 มวน ต่อเนื่องมามากกว่า 20 ปี ไม่ว่าลูกจะแอบเอากล่องบุหรี่ยาเส้นไปทิ้งหลายครั้งก็ไม่เป็นผล  ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ไม่สามารถยุดยั้งทั้งสองคนให้เลิกบุหรี่ได้แต่แล้ววันหนึ่ง ปวีณา เริ่มมีอาการปวดหัวอย่างหนัก รักษาอย่างไรก็ไม่หาย หมอให้คำแนะนำว่าควรเลิกสูบบุหรี่ ทำให้เธอเริ่มฉุกคิด ใจหนึ่งก็ยังอยากสูบบุหรี่ที่คุ้นเคย แต่ใจหนึ่งก็เพื่อสุขภาพ และที่สำคัญเธอเริ่มสงสารลูก และคิดว่าหากเธอกับสามีเป็นอะไรไปลูกจะอยู่กับใครช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยโป่ง  (รพ.สต.ห้วยโป่ง) อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ได้รณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน ปวีณา และ จำรูญ จึงตั้งใจอย่างแน่วแน่ และใช้โอกาสนี้ตัดสินใจเดินเข้าไปยัง คลินิกเลิกบุหรี่ รพ.สต.ห้วยโป่ง เพื่อขอคำปรึกษาในการเลิกบุหรี่อย่างถาวรนอกจากสองสามีภรรยาคู่นี้ ยังมีผู้สมัครใจเลิกบุหรี่แล้วจำนวน 95 ราย อันเป็นผลมาจากการทำงานเชิงรุกของ รพ.สต.ห้วยโป่ง ในโครงการ “ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมใจห่างไกลบุหรี่ ด้วยธรรมนูญสุขภาวะ” ภายใต้ โครงการควบคุมยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้ชาวบ้านตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ นำไปสู่ตำบลปลอดบุหรี่ต่อไปอดิศร ปันเซ ผู้อำนวยการ รพ.สต.ห้วยโป่ง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการว่า พื้นที่ตำบลห้วยโป่ง มี 15 หมู่บ้าน จากการสำรวจมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 702 คน และในรอบ 3 ปีย้อนหลังมีผู้ป่วยจากมะเร็งปอดมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากโรคความดันโลหิตสูง และมีผู้เสียชีวิต 6-7 รายต่อปี ซึ่งสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ เพราะอาการเริ่มป่วยก่อนเป็นมะเร็ง จะเป็นโรคหอบต่อด้วยถุงลมโป่งพอง เมื่อรักษาต่อเนื่องจะมีอาการแทรกซ้อนตามมา คือ ปอดติดเชื้อและมีก้อนมะเร็งต้องยอมรับว่าการสูบบุหรี่เป็นวิถีชีวิตและเกี่ยวเนื่องกับอาชีพของชาวบ้าน เพราะคนสมัยก่อนจะสูบบุหรี่มวนเอง ซึ่งทำจากยาเส้น คิโย ใบตอง ก็เพื่อให้ควันของบุหรี่ช่วยไล่ยุงไล่แมลงต่างๆ เวลาเลี้ยงวัว ควาย เข้าไร่-นา หรือเข้าป่า  สูบทุกวันโดยที่ไม่รู้ว่าเข้าติดและควันบุหรี่อันตรายมากเพียงใด และไม่คิดว่าจะเป็นอันตรายเพราะวัตถุดิบบุหรี่เขาปลูกเอง ทำเอง ทั้งนั้น  นอกจากแล้ววัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ เวลามีงานบุญ งานประเพณี มักจะนำเอาบุหรี่มวนมาเลี้ยงรับแขกให้ได้สูดกิน ดังนั้นบุหรี่จึงเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แยกกันไม่ออก เพราะเขาไม่คิดถึงผลกระทบเรื่องสุขภาพดังนั้น รพ.สต.ห้วยโป่ง จึงได้จัดทำโครงการ “ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมใจห่างไกลบุหรี่ ด้วยธรรมนูญสุขภาวะ” เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักให้ชาวบ้านรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ โดยเริ่มจากการคณะกรรมการขับเคลื่อนตำบลปลอดบุหรี่ จากนั้นจึงจัดเวทีรับฟังความเห็นของชุมชนเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม ก่อนคัดเลือกแกนนำหมู่บ้านละ 3 คน เพื่อเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนในพื้นที่ ประชุมร้านค้า หาบเร่ แผงลอย เข้มงวดจำหน่ายบุหรี่ตามกฎหมาย จัดคลินิกเลิกบุหรี่ใน รพ.สต.ห้วยโป่ง เพื่อให้ชาวบ้านที่สนใจเลิกบุหรี่เข้ามาขอคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ทุกวันนอกจากนี้ยังจัดให้มีค่ายเลิกบุหรี่สัญจร คัดกรองผู้สูบบุหรี่เพื่อให้เข้าถึงทุกชุมชนด้วยเครื่องวัดค่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด สอนการใช้สมุนไพรและการนวดกดจุดเลิกบุหรี่ จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในวันสำคัญต่างๆ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเลิกบุหรี่ ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ตามสถานที่ราชการ การออกเสียงตามสายให้ความรู้เรื่องบุหรี่ทุกวันเสาร์ จัดเวทีป้องกันนักสูบหน้าใหม่ สร้างข้อตกลงชุมชนร่วมกันและติดป้ายตามจุดสำคัญของชุมชน ขอความร่วมมือเจ้าภาพงดเลี้ยงแขกด้วยบุหรี่และยาเส้นในงานต่างๆ  จัดประกวดเรียงความ และคัดเลือกบุคคลต้นแบบ มอบใบประกาศร้านค้าที่เลิกขายบุหรี่จำนวน 3 ร้าน เป็นต้นผอ.รพ.สต.ห้วยโป่ง กล่าวถึงอุปสรรคการทำงาน ว่า การสื่อสารและคมนาคมคืออุปสรรคสำคัญในการทำงาน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ กระเหรี่ยง และม้ง จึงต้องมีการแปลสารจากภาษาไทยไปเป็นภาษาของชุมชนนั้นๆ ทั้งภาษาพูด เขียน และการใช้ภาษาภาพ ขณะที่ช่วงฤดูฝนการเข้าพื้นที่ไม่สามารถทำได้ เพราะเส้นทางรถถูกตัดขาด เราจึงต้องทำในพื้นที่ราบไปก่อน พื้นที่สูงจึงทำได้เพียงให้แกนนำที่เราจัดตั้งขึ้นนำสารไปประชาสัมพันธ์ก่อน จากนั้นเมื่อหมดฝนจึงจะขึ้นดอยลุยกันต่อบัวผัน อินตาผัน “ป้าผัน” วัย 60 ปี เป็นอีกคนหนึ่งที่ใช้โอกาสนี้ตัดสินใจเลิกบุหรี่ เล่าว่า สูบยาเส้นมานานกว่า 40 ปี เพราะต้องเลี้ยงวัว ควาย ยุงแมลงเยอะ พ่อแม่บอกให้เราสูบบุหรี่เพื่อไล่แมลง ก็สูบตามพ่อแม่ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงตอนนี้ ไม่ได้เลี้ยงแล้วก็ยังสูบวันละ 2-3 มวน

“เวลาไปไร่ไปนาลืมห่อข้าวได้ แต่ลืมบุหรี่ไม่ได้เด็ดขาด” ป้าผันบอก และเล่าถึงการเลิกบุหรี่ว่า “เห็นเพื่อนหลายคนเลิกบุหรี่กันไปหลายคนแล้ว เวลาเราไปเจอเขาก็รู้สึกอาย ต้องไปแอบสูบไกลๆ  จากที่ไม่เคยคิดเลิกสูบบุหรี่ ก็เลยตั้งใจว่าจะเลิกบุหรี่ จึงเข้ามาขอรับคำปรึกษาจากคลินิกเลิกบุหรี่ ของ รพ.สต.ห้วยโป่งด้าน รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช ผู้จัดการโครงการจัดการยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กล่าวว่า   เราเห็นพลังของชุมชนที่มีศักยภาพจัดการตนเองได้การให้ชุมนได้ตระหนักในปัญหาของเขา ให้เขาคิดว่าจะแก้ปัญหาของเขาอย่างไร หน้าที่ของเราคือให้โอกาสแก่ชุมชนได้รู้ปัญหาและรับรู้แนวทางแก้ไข ให้ชุมชนคิดเอง ทำเอง และประเมินตนเอง กระบวนการจึงให้ชุมชนขับเคลื่อนเป็นหลัก  ผลลัพธ์ คือ จะช่วยสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง และเป็นรากฐานมั่นคง เมื่อมีกิจกรรมหรือโครงการต่อเนื่องอะไรลงมาเขาก็จะทำได้เองโดยอัตโนมัติ เปรียบเหมือนการสร้างกระบวนกรเรียนรู้ในการแก้ปัญหาสุขภาพ ซึ่งเมื่อชาวบ้านเจาคิดเอง ทำเอง เขาจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและอยากทำ เกิดความต่อเนื่องยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็งมากขึ้นสิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ การเชื่อมต่อกับเครือข่ายและภาคี ในการคอยติดตามปละกระตุ้น เพราะบางครั้งการขับเคลื่อนอาจะล้าช้า สะดุดไปบ้าง จึงต้องลงไปช่วยสนับสนุน ผู้ทำโครงการก็จะได้เห็นว่าตลอดเส้นทางการทำงานมีคนคอยให้กำลังและสนับสนุนไปพร้อมๆ กัน จนเกิดผลลัพธ์โครงการให้ อปท. ได้นำไปใช้เป็นแผนของชุมชนต่อไปในอนาคตโครงการ “ชุมชนเข้มแข็ง ร่วมใจห่างไกลบุหรี่ ด้วยธรรมนูญสุขภาวะ” ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนและภารกิจขับเคลื่อนสุขภาพด้วยพลังของทุกภาคส่วนที่รวมด้วยช่วยกัน เพื่อผลลัพธ์ คือการผลักดันให้เกิด “ธรรมนูญสุขภาพตำบลห้วยโป่ง”  อันส่งผลให้ชาวห้วยโป่งสุขภาวะดีทุกมิติครอบคลุมทั้งตำบลอย่างยั่งยืนต่อไป.

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้