ม.แม่โจ้จับมือเอกชนทำ MOU วิจัย 4 สมุนไพรครบวงจร หวังดันสู่ตลาดโลก

ม.แม่โจ้จับมือเอกชนทำ MOU วิจัย 4 สมุนไพรครบวงจร หวังดันสู่ตลาดโลก

เชียงใหม่ / ม.แม่โจ้ จับมือเอกชน วิจัยพืชสมุนไพร 4 ชนิด “ขมิ้นชัน-กระชายเหลือง-ไพล-ใบบัวบก” ครบวงจร ตั้งแต่ปลูก แปรรูป ถึงส่งออก ควบคู่กับการพัฒนาให้ได้มาตรฐานทางการแพทย์ หวังผลักดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดสมุนไพรโลก เมื่อวันที่ 31 ต.ค.62 ที่ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับบริษัทบีอินเนสต้า ทีแอนด์เอ็น จำกัด เพื่อร่วมมือพัฒนางานด้านวิจัยสู่ภาคเอกชน ให้สามารถใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไปช่วยในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และมีคุณภาพมากขึ้นโดยจะดำเนินการศึกษาและพัฒนาการสมุนไพรเบื้องต้น ของขมิ้นชัน กระชายเหลือง ไพล และใบบัวบก ศึกษาและพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์ม เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด วิธีการนำสมุนไพรไปแปรรูปสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและนำไปสู่การส่งออกตลาดโลก และศึกษาวิจัยพัฒนาสมุนไพรให้ได้มาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงศึกษาวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ ทดสอบการเพาะปลูกและขยายพันธุ์ในพื้นที่จริง พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สมุนไพร จนสามารถนำผลการวิจัยไปสู่การพัฒนา ตลอดจนการดำเนินการในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไปทั้งนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการภายใต้ MOU ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดหามา เป็นของฝ่ายที่นำมา ส่วนทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอื่นใดที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาภายใต้ MOU ให้เป็นของทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกัน โดยความร่วมมือครั้งนี้ มีกำหนดระยะเวลา 3 ปีนายนิพนธ์ พันธเกียรติไพศาล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทบีเอนเนสต้าร์ ทีแอนด์เอ็น จำกัด กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานด้านสินเชื่อรถยนต์มานานกว่า 40 ปี ทำให้ต้องคลุกคลีกับลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน หรือเกษตรกร และวันหนึ่งคนใกล้ตัวเป็นโรคร้าย แต่ดีขึ้นจากสมุนไพรไทยที่ทางลูกค้าขนมาให้  แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านนั้นปลูกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่เป็นการปลูกในยางรถยนต์เพื่อใช้กันเอง จึงคิดว่าถ้ามีองค์ความรู้ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย น่าจะพัฒนาตลาดสมุนไพรได้ เพราะตลาดสมุนไพรโลกกว้างมาก มีมูลค่าหลายแสนล้านบาทขณะเดียวกันบริษัทก็ได้เริ่มทดลองปลูกสมุนไพรต่างๆ บนที่ดินภูเขาไฟแบบปลอดสาร จากนั้นได้ส่งสมุนไพรไปตรวจสารออกฤทธิ์ที่ห้องปฏิบัติการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา มหาวิทยาลัยมหิดล ปรากฎว่าสมุนไพรไทย ต่างมีฤทธิ์สูงในการต้านการอักเสบ และจัดการกับเซลล์มะเร็งร้ายตามอวัยวะต่างๆ ในหลอดทดลอง จึงเป็นที่มาว่าองค์ความรู้คือสิ่งสำคัญ และงานวิจัยที่ร่วมมือกับทาง ม.แม่โจ้ครั้งนี้ ไม่ใช่เฉพาะบริษัทจะได้ประโยชน์ในเชิงการค้า แต่เกษตรกรก็จะได้รับประโยชน์จากการขายพืชสมุนไพรในระดับ medical grade และหวังว่าจะนำไปสู่การผลักดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลกได้ด้าน รศ.ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการศึกษา วิจัย และต่อเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งที่ผ่านมาระบบการศึกษา และงานวิจัย มักจะถูกโจมตีว่าทำแล้วขึ้นหิ้ง ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์จริง แต่ต่อไปนี้งานวิจัย และระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยจะต้องชัดเจนว่ามีประโยชน์อะไร หรือผลกระทบอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะต่อคนในชุมชน สังคม ดังนั้นสิ่งที่ทำวิจัยต้องตอบสนองกับความต้องการของสังคมด้วย เช่น พืชกัญชา ปัจจุบันมีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง บางคนทดลองใช้ได้ผล บางคนใช้ผิดถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากข้อมูลทางการแพทย์ยังไม่ชัดเจน ล่าสุด ทาง ม.แม่โจ้ จึงได้วางแผนปลูก 12,000 ต้น เพื่อการศึกษาค้นคว้า และการแพทย์ เป็นต้น.

You may also like

SUN ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ในรูปแบบ Hybrid Meeting

จำนวนผู้