มาตรการกำจัด“จุดเสี่ยง” ที่ชุมชนจัดการด้วยตนเองได้

มาตรการกำจัด“จุดเสี่ยง” ที่ชุมชนจัดการด้วยตนเองได้

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชุมชน  สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งความเสียหายยังลามไปถึงสาธารณูปโภคที่เคยใช้ประโยชน์ร่วมกัน สร้างความหนักใจให้กับผู้นำและชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลายพื้นที่จึงมีความพยายามในการจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยไม่รอให้หน่วยงานราชการเข้ามาแก้ไขเพียงฝ่ายเดียวเช่น บางพื้นที่ มีสามแยกหัวบ้าน-ท้ายบ้าน 2 จุด ที่กลายเป็นจุดเสี่ยง คร่าชีวิตผู้คน และยังทำให้มีผั้พิการ ทุพลภาพอีกหลายราย ทำให้ผู้นำหมู่บ้านตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในชุมชนบ้านหัวขัว หมู่ 8 ต.แม่ใจ อ.เมือง จ.พะเยา”  เพื่อเรียนรู้ หาวิธีการแก้ไข กับผู้เชี่ยวชาญ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่นๆ ที่มีปัญหาจุดเสี่ยงด้วยกัน  ♣ บ้านหัวขัวใช้มาตรการทางสังคมลดอุบัติเหตุ

สมัย สุขยิ่ง ผู้ใหญ่บ้านหัวขัว เล่าว่า เมื่อก่อนทั้ง 2 จุด มีรถชนกันบ่อยมาก เพราะส่วนใหญ่มองไม่เห็นทางแยก จึงขับเร็ว ปีที่แล้วมีรถดัมพ์ ชนกับมอเตอร์ไซด์ เสียชีวิต 2 ศพ ตรวจสอบพบว่าเป็นคนต่างถิ่น จาก อ.วังเหนือ จ.ลำปาง กับ ต.แม่นาเรือ อ.เมือง จ.พะเยา อีกกรณีหนึ่ง ชาวบ้านหมู่ 9 ต.แม่ใจ ขับรถมอเตอร์ไซด์ประสานงากับรถยนต์เก่ง เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บสาหัส จนทุพลภาพ  สติไม่ค่อยสมประกอบ โดยความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุทั้ง 2 แยกในชุมชน ประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง“เฉพาะเดือนมีนาคม 2560 เกิดอุบัติเหตุ 3 ราย รายแรกเป็นคนแก่ขี่จักรยานข้ามถนน ถูกบิ๊กไบค์ชนบาดเจ็บ อีก 2 ราย เป็นเด็กวัยรุ่นนอกตำบล ขับจักรยานยนต์มาด้วยความเร็ว ชนกันได้รับบาดเจ็บ หลังจากผ่านการอบรมเรื่องจุดเสี่ยง ที่ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นแล้ว จึงได้กลับมาประชุมชาวบ้าน และเห็นพ้องว่าควรปรับปรุง 3 แยกทั้ง 2 จุด ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เริ่มด้วยการดายหญ้า ตัดกิ่งไม้ ที่บดบังสายตา ทำให้มองเห็นสามแยกได้ชัดเจน ขณะเดียวกันทางองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใจ ก็ประสานทางแขวงการทาง ขออนุญาตติดตั้งสัญญาณไฟเหลืองกระพริบ เพื่อให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็ว ซึ่งแขวงได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดู และช่วยให้คำแนะนำเป็นอย่างดี” สมัย อธิบายและบอกอีกว่าตอนนี้ทาง อบต.อนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการติดตั้ง คาดว่าปีนี้คงเสร็จเรียบร้อย ส่วนช่วงเทศกาลสงกรานต์ทีผ่านมา หลายแห่งจัดตั้งด่านตรวจ 7 วันอันตราย ตั้งแต่ วันที่ 11-17 เมษายน แต่สำหรับที่บ้านหัวขัว ได้จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างวินัย ใช้รถ ใช้ถนน ปฏิบัติตามกฏ ลดการสูญเสีย โดยมีนายสันติ สารเร็ว  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใจ เป็นประธานในการเปิดงาน และกำนัน ,ประธาน อสม. บ้านหัวขัว กลุ่มผู้นำชุมชน, ผู้ใหญ่บ้าน ,ตำรวจจารจร , ผอ.โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใส , ป้องกันภัย , เยาวชน , ประชาชนในหมู่บ้าน ร่วมเดินรณรงค์ จำนวน 132 คน ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมที่สำคัญคือมีการตั้งกติกาชุมชน ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน อบต. ประธาน อสม. ตัวแทนประชาชน 2 คน และผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วย  รวมทั้งหมด 7 คน  คอยสอดส่องดูแล ถ้าพบคนเมาแล้วขับ จะยึดรถไว้แล้วพาไปส่งบ้าน มีการลงบันทึกไว้ เมื่อสร่างเมาก็มารับรถกลับได้ แต่จะถูกตักเตือน เมื่อทำผิดเป็นครั้งที่ 2 นอกจากตักเตือน ยังต้องบำเพ็ญประโยชน์ด้วย เช่น เก็บขยะในหมู่บ้าน ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ และในครั้งที่ 3 การลงโทษจะเพิ่มหนักขึ้น ยิ่งหากพบว่าผู้กระทำผิดเป็นคณะกรรมการ โทษจะมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า ซึ่งพบว่ามาตรการทางสังคมที่ตั้งขึ้นได้ผลในเชิงป้องปรามได้เป็นอย่างดี พ่อแม่ผู้ปกครองก็สนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะอยากให้ลูกหลานลดการดื่มแอลกอฮอล์ และขับขี่ยวดยานอย่างปลอดภัย♣ ชาวหนองอ้อตั้งด่านชุมชนลดจุดเสี่ยงช่วง 7 วันอันตราย

ด้านชนะพล ผูกพัน ผู้ใหญ่บ้านหนองอ้อ หมู่ 4 ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เล่าถึงจุดเสี่ยงในพื้นที่ว่าจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งคือบริเวณสามแยกหนองอ้อ หมู่ 4 ที่เชื่อมไปยัง ต.สารจิตร อ.ศรีสัชนาลัย ซึ่งนอกจากจะเป็น 3 แยกแล้ว ยังเป็นทางโค้งด้วย เมื่อคนนอกพื้นที่ไม่รู้เส้นทางขับหลงเลี้ยวซ้ายจากทาง ต.สารจิตร เข้ามา ก็หลุดโค้งบ่อย ปีหนึ่งๆ เกิน 10 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกอ้อย ขนาด 10 ล้อ เพราะถนนค่อนข้างมืด ไม่มีป้ายบอกทาง และไฟกระพริบที่แขวงการทางติดตั้งไว้เสีย ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย  เสาไฟฟ้าหักพอได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ทำโครงการ “การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในชุมชนบ้านหนองอ้อ” และได้เรียนรู้ ได้คำแนะนำจากทางผู้เชี่ยวชาญ ก็มองเห็นทางออกเบื้องต้น จึงกลับมาทำประชาคมเรื่องจุดเสี่ยงในหมู่บ้าน  และปรับปรุงพื้นที่เสี่ยงให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รถที่วิ่งผ่านไปมาจะได้ลดความเร็ว โดยชาวบ้านก็ช่วยกันตัดกิ่งไม้ ทำความสะอาดพื้นที่ ไม่ให้บดบังสัญญาณไฟ และสามแยก  พร้อมกันนั้นก็ทำหนังสือถึงนายอำเภอให้ช่วยติดต่อจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสานงานกับแขวงการทางเรื่องไฟส่องสว่างที่ไม่ติดในตอนกลางคืน ซ่อมแซมไฟกระพริบที่มีอยู่แล้วให้สามารถใช้การได้ นำหลักสะท้อนแสงมาปักให้เห็นระยะ ตั้งแต่ปลายปี 2559 และได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน เมื่อได้รับการแก้ไข ทุกอย่างก็ดีขึ้น ผู้สัญจรผ่านไปมารู้ว่าข้างหน้าเป็นทางแยก ก็ระมัดระวังในการขับขี่  “จริงๆ แล้วปัญหาอุบัติเหตุในจุดนี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน ที่มีสภาพภูมิอากาศ ทัศนวิสัยแย่ ไม่ใช่เทศกาล เพราะช่วงเทศกาลมีด่านตรวจของหน่วยงานต่างๆ เช่น ตำรวจ ทหาร กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน กู้ชีพกู้ภัย คอยดำนวยความสะดวก และแจ้งเตือนเป็นระยะๆ ถ้ามาจาก ต.สารจิตร จะมีด่านชุมชนสารจิตรตั้งอยู่ก่อน แต่เพื่อความไม่ประมาท ในช่วง 7 วันอันตรายของสงกรานต์ปี 2560 เนื่องจากการจราจรมีความหนาแน่นกว่าปกติ เส้นทางนี้นอกจากติดต่อกับ ต.สารจิตรแล้ว ยังผ่านไปยังอุทยานศรีสัชนาลัย ไป จ.ลำปาง ได้อีกด้วย จึงมีการตั้งด่านชุมชนใกล้สามแยกอันตราย โดยทางชุมชนร่วมกับอำเภอ และแกนนำหมู่บ้านต่างๆ ทั่วตำบล จัดเวรยามแยกตามหมู่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 11-17 เมษายน แบ่งเป็น 2 กะ กะแรก 07.00 – 19.10 น. กะหลัง 19.00-07.10 น. ให้มีเวลาคาบเกี่ยวสำหรับพูดคุยส่งงานกัน ส่วนช่วงเวลาปกติที่ไม่ใช่เทศกาล ก็สุ่มตั้งด่านร่วมกับทางอำเภอ เพื่อป้องปรามการเมาแล้วขับ รวมถึงให้คำแนะนำในการใช้เส้นทางบริเวณจุดเสี่ยง” ผู้ใหญ่บ้านหนองอ้อ กล่าวทั้ง 2 แห่ง นับเป็นตัวอย่างของความพยายามที่จะจัดการจุดเสี่ยงในชุมชน ด้วยชุมชน เพราะไม่มีใครอยากให้หมู่บ้านของตนเองเป็นจุดอันตราย หรือได้รับฉายาแยกร้อยศพ ที่นำแต่ความสูญเสียมาให้.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้