มทร.ล้านนาจับมือเครือข่ายจัดประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ระหว่าง 26-27 ก.ค.นี้

มทร.ล้านนาจับมือเครือข่ายจัดประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ระหว่าง 26-27 ก.ค.นี้

มทร.ล้านนาจับมือภาคีเครือข่ายจัดงานประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 และการประชุมนานาชาติด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูงพลาสมาและไมโครนาโนบับเบิล สำหรับเกษตรและการประมงขั้นสูง ระหว่างวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ ยันนำผลงานวิจัยรับใช้สังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

ที่ห้องปฏิบัติการประดิษฐกรรม อาคารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(ดอยสะเก็ด) ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพร้อมด้วยผศ.ดร.วิษณุ ทองเล็กหัวหน้าศูนย์วิจัยการประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้าแรงสูง พลาสมาและไมโครนาโนบับเบิ้ล สำหรับภาคเกษตรและการประมง มทร.ล้านนา,รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ รศ.ดร.พานิช ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา,ผศ.เยาวนาถ นทรินทร์สรศักดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สาขาเทคโนโลยีศิลป์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และอาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ ผอ.กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนาได้ร่วมกันแถลงข่าวงานประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 และการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูงพลาสมาและไมโครนาโนบับเบิล สำหรับเกษตรและการประมงชั้นสูง ครั้งที่ 2 “สู่วิจัยรับใช้สังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม”

ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา กล่าวว่า มทร.ล้านนาได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ“สู่วิจัยรับใช้สังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม”ในระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2560 ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่แกรนด์วิว โดยได้เรียนเชิญหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รมช.ศึกษาธิการเป็นประธานในพิธีเปิดและรศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิบการบดีมทร.ล้านนากล่าวรายงาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมจำนวนมาก

สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ เป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งครั้งนี้มีความพิเศษโดยเป็นการนำเสนอผงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่นักวิจัย กลุ่มภาคธุรกิจ ภาคเอกชนจะได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนพัฒนางานวิจัยสู่การพัฒนาเป็นงานนวัตกรรมในยุคประเทศไทย 4.0 และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการต่อยอดงานวิจัยและสามารถนำไปใช้ถ่ายทอดสู่สังคม ชุมชนได้

ผศ.ดร.วิษณุ ทองเล็ก หัวหน้าศูนย์วิจัยการประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้าแรงสูง พลาสมาและไมโครนาโนบับเบิ้ล สำหรับภาคเกษตรและการประมง มทร.ล้านนา กล่าวว่า ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้จะมีการลงนาม MOU ระหว่างมทร.ล้านนากับมหาวิทยาลัยอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนางานวิจัยด้านพลังงานไฟฟ้าแรงสูงพลาสมาและไมโครนาโนบับเบิล สำหรับเกษตรและการประมงขั้นสูงด้วย ซึ่งมทร.ล้านนาได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศญี่ปุ่นในการร่วมกันศึกษาวิจัยเทคโนโลยีไมโคร นาโนบับเบิลโดยดำเนินการที่ศูนย์ Plasma & Micro/Nano Bubbles to Agriculture and Aquaculture มทร.ล้านนาซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมที่สามารถถ่ายทอดลงไปสู่ภาคเกษตรและถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตทางการเกษตรแล้ว อย่างเช่นที่ การพัฒนาและยกระดับการเลี้ยงปลานิลที่เชียงราย นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีนาโนบับเบิลมาใช้ในการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ด้วย

ด้าน รศ.ดร. พานิช อินต๊ะ รศ.ดร.พานิช ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา กล่าวว่า ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้จะนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำร่วมกับผศ.ดร. สมพร จันทระ ,รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล และ รศ.ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล หน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานวิจัยมลพิษทางอากาศ และผลกระทบต่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้วิจัยเกี่ยวกับต้นแบบสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองลอยในอากาศ
แบบออนไลน์ต้นทุนต่ำ

สำหรับสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองลอยในอากาศแบบออนไลน์ต้นทุนต่ำนั้น ที่เชียงใหม่มีติดตั้งไว้ 2 จุดคือที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับที่แม่เหียะ นอกจากนี้กำลังดำเนินการอีก 5-6 สถานีที่ภาคใต้ซึ่งเป็นงบวิจัยที่ได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับสำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย(สกว.) เพื่อศึกษาคุณภาพอากาศก่อนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าเทพา จำนวน 45 ล้านบาทซึ่งจะใช้เวลาถึง 7 ปี

ขณะที่ผศ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สาขาเทคโนโลยีศิลป์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ กล่าวว่า ในครั้งนี้จะนำผลงาน “Tao Tong for Environmental Friendly” ซึ่งคว้ารางวัล 2 เหรียญทอง คือ GOLD Medal – KIWIE 2017 และ GOLD Medal : TIIIA OUTSTANDING DIPLOMA Special award for Excellent จากประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักวิจัยสตรี ในงาน Korea International Women’s Invention Exposition 2017 (KIWIE 2017) ที่กรงุโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 8 -11 มิถุนายน 2560 ณ KINTEX กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ Korea International Women’s Invention Exposition เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักวิจัยสตรีจากทั่วโลก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยสตรีนำเสอนผลงาน สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยในปี 2560 นี้ มีนักวิจัยนวัตกรรมสตรีจาก 24 ประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 200 กว่าผลงาน

การออกแบบครั้งนี้ ออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ที่จะใช้บรรจุเป็นแมลงที่มีรูปลักษณ์ที่ดูน่ารักและเป็นมิตร จึงได้ออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุ เป็นรูปตัวเต่าทอง ที่มีส่วนหัวสามารถถอดออกแล้วใส่ถุงสารสะเดาเข้าไป แล้วปิดล๊อกหัวไว้ ส่วนปีกบนตัวเต่าทอง เจาะเป็นรูบนปีก เพื่อให้มีช่องระบายสารสะเดาออกมาได้ง่ายขึ้น ส่วนด้านหลังใช้สายร้อยเป็นห่วง เพื่อสะดวกต่อการ ใช้งาน หิ้ว จับ ถือ ซึ่งหลังจากการใช้งานไล่มอดในข้าวแล้ว สามารถนำมา Reuse ให้ใช้ประโยขน์ในด้านอื่นได้ เช่น นำมาใส่ผงหรือสาร Aroma เพื่อใช้แขวนดับกลิ่นในตู้เสื้อผ้า หรือในรถยนต์ อีกทั้งยังนำมาใช้เสียบปากกาบนโต๊ะทำงาน หรือ เสียบซ่อมผลไม้ บนโต๊ะอาหาร หรือใช้เป็นของตกแต่งได้อีกด้วยและในส่วนของบรรจุภัณฑ์ขายปลีกของ TaoTong.

ผศ.เยาวนาถ กล่าวว่า ผลงาน “Tao Tong for Environmental Friendly” เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุสารสกัดจากสะเดา เพื่อไล่มอดข้าวในข้าวสาร ซึ่งจากเดิมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสารสกัดจากสะเดาอัดเม็ด บรรจุในถุงเยื่อกระดาษแบบถุงชา (Sachet) เมื่อนำไปใส่ในถุงข้าวสาร อาจเกิดการฉีกขาดได้ง่าย อีกทั้งยังบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ซองฟอยล์ ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

อาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ ผอ.กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา กล่าวว่า กิจกรรมภายในงานยังมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ“Research for National Development , Social Engagement and Enterprise for Thailand 4.0” โดยศ.นพ.สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล  เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และการบรรยายหัวข้อ “Innovation of Micro/Nano Bubble for Social Engagement Environment and Enterprise”โดย ดร.มาซาโยชิ ทาคาฮาชิ จาก National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น และผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศญี่ปุ่น การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ภาคโปสเตอร์ ภาคบรรยาย การจัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ การสัมมนา World Didactic และกิจกรรมการถ่ายทอดผลงานวิจัย “…สู่วิจัยรับใช้สังคม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม”จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ กลุ่มสถานประกอบการ กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรีนรู้ความรู้ ความทันสมัยของเทคโนโลยีซึ่งมีถึง 130 ผลงานวิจัย คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 300 คนด้วย.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้