ผู้ตรวจการแผ่นดินแนะแก้ปัญหาม่อนแจ่มอย่าใช้กม.บังคับ หวังให้ประชาชนในพื้นที่ม่อนแจ่มอาศัยอยู่กับธรรมชาติอย่างเหมาะสม

ผู้ตรวจการแผ่นดินแนะแก้ปัญหาม่อนแจ่มอย่าใช้กม.บังคับ หวังให้ประชาชนในพื้นที่ม่อนแจ่มอาศัยอยู่กับธรรมชาติอย่างเหมาะสม

ประธานผู้ตรวจการแผ่นเผยผู้ประกอบการที่พักม่อนแจ่ม 82 รายที่ร้องเรียนเพียงแต่ใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ แนะจังหวัดและป่าไม้อย่ามุ่งแต่ใช้กฎหมายบังคับให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รักษาธรรมชาติป่าลุ่มน้ำชั้น 1 เอ จัดโซนนิ่งส่วนที่เป็นที่พัก ร้านค้าและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำแผนฯพัฒนาพื้นที่ม่อนแจ่มเป็นท่องเที่ยวเชิงเกษตร

เมื่อวันที่ 4 พ.ย.63 ที่ห้องประชุมสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1(เชียงใหม่) พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานประชุมการพิจารณาเรื่องร้องเรียน กรณีการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ริม(ม่อนแจ่มและพื้นที่ใกล้เคียง) ต.แม่แรมและต.โป่งแยง อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากได้ลงพื้นที่และรับฟังความเห็นจากชาวบ้านที่ได้ร้องเรียนไปยังสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินเมื่อวานนี้(3 พ.ย.)

พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า เนื่องจากมีผู้ประกอบการธุรกิจที่พักในพื้นที่ม่อนแจ่มร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนกรณีถูกกรมป่าไม้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และประกาศให้ระงับการประกอบธุรกิจ อีกทั้งมีคำสั่งให้รื้อถอนสถานประกอบการ ซึ่งได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมพบปะประชาชนที่เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าว มาแล้ว

สำหรับพื้นที่ดังกล่าว พบว่าป่าแม่ริมเป็นต้นน้ำลำธารจัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ มีขนาดพื้นที่กว่า 13,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่โครงการหลวงหนองหอยขอใช้ประมาณ  2,000 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ใช้ที่ดินทำเกษตรกรรมทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งมีราษฎรเข้าร่วมโครงการประมาณ 900 กว่าราย แต่ปัจจุบันได้มีการแปรสภาพการใช้ประโยชน์ของที่ดินจากเกษตรกรรมเป็นธุรกิจที่พัก  รีสอร์ท จำนวน 113 ราย โดยเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ์ จำนวน 82 ราย และถูกดำเนินคดีแล้ว 31 ราย เนื่องจากเข้าข่ายกระทำความผิดชัดเจน นำที่ดินไปใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการหลวงหนองหอย รวมทั้งมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติม เปลี่ยนมือเจ้าของ หรือขายกิจการให้นายทุนนอกพื้นที่ แต่ราษฎรที่ทำเกษตรกรรมในพื้นที่ตามโครงการหลวงฯ เดิมและไม่มีการบุกรุกเพิ่มเติมจะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีนี้

“ในการดำเนินการ ไม่ได้แต่มุ่งหมายบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่อยากให้พิจารณาอนาคตและการจัดพื้นที่ให้เหมาะสมอย่างไร การวางแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้อย่างไร เพราะประชาชนก็อ้างว่าอยู่ก่อนการประกาศเขตป่า ให้ใช้หลักการแก้ปัญหาตามสภาพข้อเท็จจริง โดยจะอาศัยการอ่านภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศและแผนที่ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ  เพื่อตรวจสอบร่องรอยการทำกินว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรมาประกอบการพิจารณาสิทธิในแต่ละแปลง

ขณะที่นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ริม ตามพรบ.ป่าฯ2507 พื้นที่ทั้งหมด 1.4 แสนกว่าไร่ ซึ่งหลังเกิดประเด็นขึ้นทางกรมป่าไม้ได้เข้าไปตรวจสอบโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศปี 2545 ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่เนื่องจากการดำเนินการกรมป่าไม้จะต้องมีแผนงานและงบประมาณที่ชัดเจน และทางกรมฯได้จัดสรรงบประมาณตามแผนให้ในปี 2551-2552 จึงทำให้ผู้ร้องคิดว่าข้อมูลของกรมป่าไม้คาดเคลื่อนซึ่งข้อเท็จจริงกรมป่าไม้มีภาพถ่ายทางอากาศติดตามตรวจสอบทุกปีและพบว่ามีการบุกรุกเพิ่มจากเดิม

พื้นที่ป่าแม่ริมเป็นป่าต้นน้ำลำธารจัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ มีขนาดพื้นที่กว่า 140,000 ที่โครงการหลวงหนองหอยขอใช้เพื่อให้ราษฎรอยู่อาศัยทำการเกษตรประมาณ 2,000 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่ใช้ที่ดินทำเกษตรกรรมทดแทนการปลูกฝิ่น มีราษฎรเข้าร่วมโครงการหลวงประมาณ 600 กว่าราย มีพื้นที่กว่า 900 แปลง แต่ปัจจุบันได้มีการแปรสภาพการใช้ประโยชน์ของที่ดินจากเกษตรกรรมเป็นธุรกิจที่พัก – รีสอร์ท จำนวน 113 ราย โดยเป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวน 82 ราย และมีผู้ถูกดำเนินคดีแล้ว 31 ราย เนื่องจากเข้าข่ายกระทำความผิดชัดเจน นำที่ดินไปใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการหลวงหนอง รวมทั้งมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติม เปลี่ยนมือเจ้าของ หรือขายกิจการให้นายทุนนอกพื้นที่จะมาอ้างว่าสำนักจัดการป่าไม้ที่ 1 ดำเนินการไม่ถูกต้องไม่เป็นความจริง

“พื้นที่ป่าสงวนแม่ริม ได้มีการกันพื้นที่ออกจากป่าสงวนแห่งชาติเป็นจุดๆ ซึ่งบางจุดออกโฉนดแล้ว แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังมีสค.1 สำหรับพื้นที่ม่อนแจ่มจากการตรวจสอบมีผู้ประกอบการอยู่ 696 ราย 984 แปลงพื้นที่ 2,799 ไร่ 32 งาน โดยเป็นพื้นที่โครงการหลวงหนองหอยขอใช้ประโยชน์ 13,258.25 ไร่ อยู่ใสนเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 6,156 ไร่และอยู่ในเขตต.แม่แรม 5,924 ไร่ ต.โป่งแยง 329 ไร่ และอยู่นอกเขตป่าสงวนฯ 627.06 ไร่แต่ผู้ที่ร้องเรียนไปยังสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินไม่อยู่ในพื้นที่นอกเขตป่าสงวนฯ และไม่ได้ทำการเกษตร ซึ่งจากการตรวจสอบในพื้นที่ 113 รายใช้ประโยชน์ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการหลวงหนองหอย”ผอ.สำนักจัดการป่าไม้ที่ 1 เชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

ล่าสุดที่นายวราวุธ ศิลปะอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่ประชุมร่วมกันที่โครงการหลวงหนองหอยได้ข้อสรุปว่าถ้าหากตัดกิจกรรมเชิงพาณิชย์ออกและให้พิจารณาแนวทางส่งเสริมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างที่จังหวัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนแม่บทอยู่

นายวัน ม่วงมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง กล่าวว่า พื้นที่โครงการหลวงหนองหอยที่ตั้งอยู่ปัจจุบัน เดิมคนพื้นราบบุกเบิกอาศัยอยู่ก่อนปี พ.ศ.2497 มีหลักฐานการถือครองสค.1และได้ยื่นออกโฉนดหลายฉบับ ตั้งแต่เด็กๆ จะเห็นเป็นที่นาและสวนเมี่ยง ซึ่งปี 2507 กรมป่าไม้ได้ออกโฉนดให้ก็มีบ้านอยู่ 3 หลังด้านบนมีโรงเรียนเจ้าพ่ออุปถัมภ์ และมีชุมชนม้งอาศัยอยู่และปัจจุบันจำนวนประชากรม้งก็เพิ่มขึ้น สมัยก่อนแนวแผนที่ของกระทรวงมหาดไทยพื้นที่นั้นจะอยู่ในเขตต.โป่งแยง แต่ชุมชนม้งไปขอขึ้นกับต.แม่แรม

“ความเปลี่ยนแปลงที่ม่อนแจ่มเกิดขึ้นเมื่อปี 2560 ซึ่งก็เริ่มมีการปรับปรุงพื้นที่เป็นที่พักบริการนักท่องเที่ยว  และหลังจากนั้นก็เริ่มเลียนแบบทำตามกันมากขึ้น เพราะถ้าทำการเกษตร พื้นที่ 1 ไร่ จะมีรายได้หลักพัน-หมื่น แต่พอเปลี่ยนมาทำที่พักบริการนักท่องเที่ยวทำให้มีรายได้หลักล้าน จึงทำให้ชาวบ้านเลียนแบบกัน”นายกอบต.โป่งแยงกล่าว

อย่างไรก็ตามหลังจากรับฟังข้อมูลจากทางจังหวัดเชียงใหม่โดยนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผวจ.เชียงใหม่และนายศรัณยู มีทองคำ รองผวจ.เชียงใหม่ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานจัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาม่อนแจ่มแล้ว ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้กล่าวสรุปข้อวินิจฉัยว่า  ให้จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงใหม่ โครงการหลวงหนองหอย และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการบนพื้นที่ม่อนแจ่มเพื่อพัฒนาชุมชนและประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติที่มีคุณค่าโดยพึ่งพาซึ่งกันและกัน และคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ ให้ชุมชนม่อนแจ่มจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนมาดำเนินการทั้งเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงหนองหอย – ม่อนแจ่มให้ยั่งยืน

“ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้มีหน้าที่เพียงแก้ปัญหาทางด้านกฎหมายเท่านั้น  แต่มุ่งหวังที่จะเห็นประชาชนในพื้นที่ม่อนแจ่มอาศัยอยู่กับธรรมชาติอย่างเหมาะสม โดยมีจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานในพื้นที่เป็นกำลังสำคัญที่จะคอยช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่นับเป็นข้อต่อสำคัญที่จะสื่อสารกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงข้อเท็จจริงและผสานความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งนี้ ขอให้ทุกฝ่ายคำนึงถึง 5 ข้อหลักใหญ่ คือ 1) มุ่งรักษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่   มุ่งรักษาธรรมชาติป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ริม (ม่อนแจ่มและพื้นที่ใกล้เคียง) ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 เอ การที่จะมีที่พักแม้กระทั่งโฮมสเตย์ก็เป็นไปได้ยาก”ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวและว่า

แผนแม่บทฯขอให้ทำให้ดีให้เกิดประโยชน์ คำนึงถึงรายได้ของประชาชนในพื้นที่ให้มีความเหมาะสม ควรจะมีการจัดโซนนิ่งให้ชัดเจน ถ้าดูสภาพม่อนแจ่มทุกวันนี้มีแต่กระโจมที่พักที่เหมือนสลัมไม่หลงเหลือสภาพป่าต้นน้ำ  คณะทำงานที่จังหวัดแต่งตั้งต้องทำงานร่วมกับโครงการหลวงอย่างใกล้ชิด และ ขอให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บทด้วย.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้