“ปิ๊กมาดี”ศูนย์กิจกรรมเพื่อผู้สูงวัย จากขยะหนึ่งถุงสู่กองทุนแห่งความสุข

“ปิ๊กมาดี”ศูนย์กิจกรรมเพื่อผู้สูงวัย จากขยะหนึ่งถุงสู่กองทุนแห่งความสุข

ทุกครั้งที่มีการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ภาพผู้สูงวัยหิ้วถุงขยะที่ผ่านการคัดแยกแล้วติดมือมาด้วย ถือเป็นภาพชินตาของคนในชุมชน และคือจุดเริ่มต้นของของกิจกรรมดีๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนเล็กๆ อย่างบ้านทุ่งหก หมู่ ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ภายใต้การดำเนินการของ ศูนย์ปิ๊กมาดี  ที่ภาษาเหนือ หมายถึง กลับมาดีดังเดิม หรือแต่เดิมนั้นเคยดี เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งดีๆ นั้นค่อยๆ เลือนหาย แต่หากเราใส่ใจ ร่วมกันสร้าง ร่วมกันทำ สิ่งดีๆ ที่เคยหายไปนั้น ก็จะกลับมาเหมือนเดิม            จากแนวคิดนี้ จึงเป็นที่มาของ “ศูนย์ปิ๊กมาดี” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของคนหนุ่มสาวในชุมชน ภายใต้การนำของ กฤษฎา เทพภาพ และ เจษฎา ปาระมี ที่ต้องการให้หมู่บ้านของตัวเองกลับมาน่าอยู่ ร่มเย็น สงบสุข จึงชวนกันทำกิจกรรมดีๆ อย่างหลากหลาย          กฤษฎา เทพภาพ ผู้ก่อตั้งศูนย์ปิ๊กมาดี เล่าว่า เริ่มจากจัดการกับขยะที่ถูกทิ้งระเกะระกะจนล้นหมู่บ้าน โดยชักชวนผู้สูงอายุมาร่วมกิจกรรมคัดแยกขยะจากบ้าน นำมามอบให้กับศูนย์ฯ แล้วได้รับการบันทึกลงในสมุดบันทึกความดี เมื่อถึงวันสำคัญ เช่น วันพ่อ วันแม่ ก็จะประกาศความดี และมอบรางวัล เช่น ตะกร้า หวด กระติกน้ำ ฯลฯ ขณะเดียวกันศูนย์ฯมีหน้าที่คัดแยกขยะจำหน่าย สร้างกองทุนเล็กๆ ขึ้น แล้วนำเงินที่ได้ย้อนกลับไปเป็นสวัสดิการของผู้สูงอายุ หากเจ็บไข้ต้องไปหาหมอ ก็ใช้เงินที่ได้จากขยะที่ช่วยกันขนมา หรือซื้อรถเข็นให้ผู้พิการในชุมชนได้ใช้ เรียกว่าสวัสดิการ ปิ๊กมาสุข          “ช่วงแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีผู้สูงอายุราว 40 คน เท่านั้นที่เข้าร่วมกิจกรรม แต่เมื่อคนอื่นเห็นว่าเป็นประโยชน์จริง ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม กลุ่มจึงถูกขยายออกไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 400 คน จากบ้านทุ่งหก และบ้านน้ำจำ ภายใต้กติกาคือ ในวันที่ศูนย์เปิดรับขยะเดือนละ 1 ครั้ง ภายใน 1 ปี แต่ละคนต้องนำขยะมาขายสะสมให้ได้ 50บาท” กฤษดา อธิบายหากในความเป็นจริง พบว่าแม้จะเป็นเดือนที่นอกเหนือจากที่กำหนด ก็มีผู้สูงวัยนำขยะมาให้เปล่า บางครั้งก็เป็นการเก็บจากที่สาธารณะ เชื่อ กลางถนน ไหล่ทาง จนเกิดกิจกรรมที่เรียกว่า ปิ๊กมาเตี่ยมบุญ ส่วนขยะที่ได้จะมีปริมาณ 1 คันรถกระบะต่อเดือน แต่เนื่องจากที่พักขยะจำกัด จึงให้พ่อค้าในชุมชนมารับไปในวันที่ซื้อขยะจากชาวบ้านนั่นเองแทบไม่น่าเชื่อว่า จากกิจกรรมเล็กๆ ง่ายๆ นี้ ได้งอกเงยสู่กิจกรรมอื่นๆ ของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างกว้างขวาง ทั้งการส่งเสริมอาชีพ เย็บผ้าห่มเพื่อจำหน่าย และแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้ กับสมาชิกศูนย์ปิ๊กมาดีครอบครัวละ 1 ผืน ภายใต้ชื่อ ปิ๊กมาอุ่น นอกจากนี้ ยังมีการจักสาน ตัดตุง ทำสวยกาบ เลี้ยงไส้เดือนดิน แปรรูปขยะให้มีมูลค่าและคุณค่า ซึ่งเรียกว่า ปิ๊กมาเปิ้ง ขณะที่กลุ่มชอบฟ้อนรำ ก็จะมีกิจกรรม ปิ๊กมาม่วน/รำ มุ่งสร้างความสุขให้แก่สมาชิก ก่อให้เกิดสุขภาพดีทั้งทางกายและใจ รวมทั้งรับงานแสดงจนมีรายได้ สร้างกองทุนสำหรับสมาชิกได้สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่หลงลืมหนังสือก็มีโอกาสกลับมาเรียนหนังสืออีกครั้ง โดยได้รับความร่วมมือจาก กศน.ห้างฉัตร เรียกว่ากิจกรรม ปิ๊กมาเก่ง ในทางตรงข้าม ทางศูนย์ปิ๊กมาดี ยังจัดกิจกรรม ปิ๊กมาฮัก ส่งครูอาสาไปสอนหนังสือแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนทุ่งหก ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และช่วงปิดเทอมเกี่ยวกับจิตอาสา คุณธรรม จริยธรรม การเป็นนักสืบขยะ ดึงเด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลชุมชน กิจกรรมสุดท้าย คือ ปิ๊กมายิ้ม/ปิ๊กมาสานฮีตสานฮอย เน้นอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนที่เคยหายไปให้กลับคืนมาเจษฎา ปาระมี ประธานศูนย์ปิ๊กมาดี เล่าถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานว่า ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นช่วยให้จัดการขยะในชุมชนได้ร้อยละ50-60 เท่านั้น เพราะทั้งบ้านน้ำจำ และบ้านทุ่งหก เป็นหมู่บ้านใหญ่ มีประชากรประมาณ 4,000 กว่าคน หากเข้ามาเป็นสมาชิกแค่  400 คน กระนั้นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือชาวบ้านมีจิตอาสาหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าจัดงานจะมีคนมาช่วยจัดเตรียมสถานที่ให้ตลอด เกิดความรักใคร่กลมเกลียว รักชุมชน สังคมกลับมาเอื้ออาทรกัน ก่อให้เกิดชุมชนน่าอยู่ “ขยะไม่มีวันหมด แต่ถ้ารักชุมชนก็ต้องไม่ทิ้ง ต้องช่วยกันจัดการ เริ่มจากสิ่งเล็กๆ เอาปัญหาที่อย่างมารวมกัน แล้วแก้ไขไปพร้อมๆ กัน โดยกิจกรรมทั้ง ปิ๊กที่เกิดขึ้น เปรียบเหมือนขาที่ต้องช่วยพยุงกันไป ขาดขาใดขาหนึ่งก็จะพิการ แม้ว่าวันนี้บางขาจะยังอ่อนเปลี้ยอยู่ ไม่ได้แข็งแรงสมบูรณ์ แต่ในภาพรวมทุกอย่างกำลังก้าวเดินไป และไม่เคยคิดว่าสำเร็จ ทุกอย่างต้องพัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆ” ประธานศูนย์ปิ๊กมาดี กล่าวเรียกได้ว่าทุกกิจกรรมล้วนมีต้นธารมาจาก “ขยะ” ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ช่วยกันหิ้วมาจากบ้านนั่นเอง และทุกกลุ่มจะนำรายได้ร้อยละ 5 ส่งเข้าศูนย์ปิ๊กมาดี นำไปใช้เฉลี่ยช่วยผู้ป่วยติดเตียง และคนทำงานไม่ได้ ซึ่งเมื่อรวบรวมแล้วพบว่าได้เดือนละ 5,000-8,000 บาท.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้