บ้านสระโคล่จัดมหกรรมสุขภาพผักปลอดสารพิษ ยกระดับสู่ชุมชนต้นแบบ

บ้านสระโคล่จัดมหกรรมสุขภาพผักปลอดสารพิษ ยกระดับสู่ชุมชนต้นแบบ

พิษณุโลก / บ้านสระโคล่ จัด“มหกรรมสุขภาพผักปลอดสารพิษบ้านสระโคล่ ร้อยใจเป็นหนึ่งเดียว” ดึง 8 คุ้มบ้านโชว์เมนูผักเพื่อสุขภาพ พร้อมจัดซุ้มจำหน่ายผักปลอดสาร มอบใบประกาศครัวเรือนต้นแบบปลูกผัก แกนนำย้ำบทบาทผู้นำต้องทำเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน ขณะที่นายกเทศมนตรี ตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกอีก 4 หมู่บ้านนายสวง พันเรือง ผู้รับผิดชอบโครงการชุมชนน่าอยู่หมู่บ้านสระโคล่ ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า บ้านหัวรอ เข้าร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนอยู่ดีกินดี มีความสุข และกิจกรรมหลักในปี 2560-2561 นี้คือการปลูกผักปลอดสารเคมี เพราะผลการสำรวจ 162 ครัวเรือน จากทั้งหมด 235 ครัวเรือน พบว่าครัวเรือนไม่ปลูกผักกินเองถึง 129 ครัวเรือน มีปัญหายุง แมลงสาบ หนู รบกวน 117 ครัวเรือน บริโภคหวาน มัน เค็ม 158 ครัวเรือน ปัญหาปล่อยน้ำทิ้งตามธรรมชาติ 98 หลังคาเรือน และค่าใช้จ่ายสูง 81 ครัวเรือนเมื่อทำประชาคมชาวบ้าน จึงมีการวิเคราะห์และคัดเลือกปัญหาที่จะแก้ไขลำดับแรก คือการซื้อผักกิน ที่ส่วนใหญ่ซื้อจากตลาดนัด 2 แห่ง ทุกวันพุธ และวันศุกร์ นอกจากนี้ยังมีร้านค้าขายผักอีก 6 ร้าน กับรถเร่ขายผัก 3 คัน มาขายทุกวันตอนเช้า ผลกระทบที่ตามมา นอกจากค่าใช้จ่ายจะสูงแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เจ็บป่วยและมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีสารเคมีตกค้างในเลือด ที่สำคัญคือขาดความรู้เรื่องการบริโภคผักปลอดสารพิษ ถึง 56 ครัวเรือน“ช่วงแรกของการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักไว้รับประทานเองในครัวเรือนค่อนข้างยาก สภาผู้นำต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ไม่มีที่ดินเพาะปลูก ก็แนะนำให้ใช้กระถาง ซึ่งมีการนำยางรถยนต์เก่ามารีไซเคิลเป็นรูปแบบต่างๆ อาทิ แก้วกาแฟ หรือกระถางหลากสีสัน ปัญหาดินเสื่อมสภาพ ต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์เข้าไปช่วยฟื้นฟู จนชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยเม็ดอินทรีย์ และนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็เกิดศูนย์เรียนรู้และจำหน่ายผักปลอดสารพิษในชุมชน และแลกเปลี่ยนพืชผักอย่างต่อเนื่อง มีครัวเรือนต้นแบบด้านการปลูก และบริโภคผักปลอดสาร 16 ครัวเรือน รวมถึงครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายในการซื้อผักได้ 600 บาท/เดือน” ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวนายบรรจบ ทรัพย์ขำ ผู้ใหญ่บ้านสระโคล่ กล่าวว่า จริงๆ แล้วพื้นฐานอาชีพของชาวบ้านสระโคล่เป็นเกษตรกร ก่อนหน้านี้จึงมีหลายครัวเรือนที่ปลูกพืชผักไว้รับประทาน แต่ใช้สารเคมี เพราะไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมี เมื่อทำโครงการผู้นำก็ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เช่น ไปอบรมเป็นหมอดิน หรือดูงานจากที่อื่น เพื่อนำมาปรับใช้ในหมู่บ้าน สภาผู้นำชุมชน จะประชุมร่วมกับประธานคุ้มบ้าน จำนวน 8 คุ้ม ทุกวันที่ 7 ของเดือน ก็จะเปิดโอกาสให้ประธานของทุกคุ้มแสดงความคิดเห็นว่าหากปลูกผัก จะติดขัดปัญหาอะไรบ้าง อันดับแรกคือไม่มีที่ปลูก แก้ไขด้วยการนำยางรถยนต์เก่ามารีไซเคิลทำกระถาง ได้ทั้งความสวยงาม และเกิดประโยชน์ใช้สอยได้จริง อีกปัญหาหนึ่งคือไม่มีวัตถุดิบทำปุ๋ยหมัก ในฐานะผู้นำจึงเข้าไปคุยกับโรงสี ขอแกลบมาเป็นวัตถุดิบ เป็นต้นด้านนายนพคุณ แถมพยัคฆ์ นายกเทศมนตรี ต.หัวรอ กล่าวว่า ต.หัวรอ มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน แต่บ้านสระโคล่ หมู่ 7 เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ชาวบ้านมีความสามัคคี ร่วมมือกัน จึงถือเป็นตัวอย่างหรือต้นแบบให้ชุมชนอื่นๆ เข้ามาดูงาน และนำไปทำที่บ้าน โดยเชื่อว่าเบื้องต้นจะขยายไปได้ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1, 2, 9, 10 เพราะทั้ง 4 หมู่บ้านนี้เคยปลูกผักในโครงการ“รั้วกินได้” ของเทศบาล แต่ไม่เต็มรูปแบบ และไม่ยั่งยืนเท่าบ้านสระโคล่ ที่มีการต่อยอด เข้าไปทำกับ สสส. จนเกิดสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง จริงใจ และจริงจังในการทำงาน ส่งผลให้เกิดการพลังขับเคลื่อนภายในชุมชนตัวอย่างที่เห็นจากงาน “มหกรรมสุขภาพผักปลอดสารพิษบ้านสระโคล่ ร้อยใจเป็นหนึ่งเดียว” คนนอกชุมชนที่เข้ามาเยี่ยมเยือน สามารถเรียนรู้ร่วม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภค เพื่อลดปริมาณการซื้อผัก หรือเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่ทำจากผักปลอดสารพิษ ที่แต่ละคุ้มบ้านยกมาสาธิตให้เห็นอย่างชัดเจน หรือร่วมอุดหนุนซุ้มจำหน่ายผักปลอดสารพิษ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีของผู้บริโภค.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้