บ้านพักตุลาการระอุ ภาคประชาชนผนึกพลังขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

บ้านพักตุลาการระอุ ภาคประชาชนผนึกพลังขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

เชียงใหม่ / ภาคประชาชน ผนึกภาคีเครือข่าย จัดเสวนาระดมความเห็นขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ จากโครงการสร้างบ้านพักตุลาการ ชี้ได้ประโยชน์แค่ 45 ครอบครัว แต่ใช้งบถึง 300 ล้านบาท และจะเป็นตัวอย่างให้มีการขยายพื้นที่รุกป่าต่อไปอีก เตรียมยื่นหนังสือผู้ว่าฯ-อธิบดีกรมธนารักษ์ 26 มี.ค.นี้ พร้อมนำเสนอ 4 แนวทางออกเพื่อยุติปัญหาเมื่อเวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมกลาง อาคารหอพัก สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ได้จัดเสวนาระดมความคิดเห็นขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ที่กำลังสร้างบ้านพักข้าราชการตุลาการ บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จำนวน 45 หลัง โดยใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท และกลายเป็นกระแสครึกโครมอยู่ในปัจจุบัน โดยมีภาคประชาชนที่สนใจ และตัวแทนองค์กรต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 100 คน อาทิ กลุ่มขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ, ชมรมจักรยานวันอาทิตย์, มูลนิธิไทยรักษ์ป่า, เครือข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม, ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กลุ่มรักษ์แม่ปิง เป็นต้นศ.เฉลิมพล แซมเพชร กล่าวในวงเสวนา ถึงปรากฏการณ์ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพว่า การออกมาเรียกร้องเพื่อขอคืนพื้นที่ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการต่อต้านการสร้างศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่เป็นเพราะไม่เห็นด้วยที่จะสร้างบ้านพักตุลาการในจุดนั้น เนื่องจากพื้นที่ไม่เหมาะสม และการนำเงินภาษีของประชาชนถึง 300 ล้านบาท ไปสร้างบ้านพัก 45 หลัง ให้คนเพียง 45 ครอบครัวเข้าพัก ถือว่ามูลค่าสร้างสูงเกินไป ถ้าย้ายไปสร้างที่อื่นน่าจะเหมาะสมกว่า“ตอนนี้ทางเครือข่ายได้ทำหนังสือ 2 ฉบับ เตรียมยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และอธิบดีกรมธนารักษ์ ในวันจันทร์ที่ 26 มี.ค.นี้  เพื่อไม่ให้กรมธนารักษ์ อนุญาตให้มีการใช้ที่ดินราชพัสดุที่อยู่ติดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ รวมถึงที่ดินราชพัสดุที่มีศักยภาพในการสงวนรักษาให้เป็นพื้นที่สีเขียว และขอให้มีการกำกับดูแลการใช้พื้นที่ราชพัสดุทั่วประเทศที่มีการขออนุมัติใช้ และให้มีการพิจารณาเรียกคืนการใช้ที่ดินราชพัสดุที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์การขอใช้ นอกจากนี้ในการที่ดินราชพัสดุ ต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้ที่ดินราชพัสดุมาจากฉันทามติของประชาชน” ศ.เฉลิมพล กล่าวด้าน ดร.นิรันดร โพธิกานนท์ ที่ปรึกษาชมรมจักรยานวันอาทิตย์เชียงใหม่ กล่าวถึงความไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นสั้นๆ ว่า ไม่อยากให้หน่วยงานตุลาการ ซึ่งเป็นที่เคารพของคนทั้งประเทศ ในฐานะเป็นสถาบันสำคัญของประเทศ ไปสร้างบ้านพักในจุดดังกล่าว เพราะหากสร้างได้ในอนาคตต้องมีการขยายออกไปอีกอย่างแน่นอนนางศรีคำดา แป้นไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากสถาบันตุลาการสร้างบ้านพักในพื้นที่นี้ แล้วคนในประเทศจะพึ่งพาใครได้ เงินภาษีของประชาชน 300 ล้าน จะเอื้อประโยชน์ให้ข้าราชการแค่ 45 ครอบครัวที่ขึ้นไปอยู่ตรงนั้น จึงควรทุบทิ้ง เพื่อเอาพื้นที่คืน แล้วปลูกป่าทดแทน เพราะถึงบ้านพักจะสร้างเสร็จ แต่ต่อไปก็ต้องใช้งบประมาณในการดูแลอีก เช่น ทำแนวกันไฟ ฉะนั้นต้องคืนพื้นที่ให้กรมอุุทยาน กรมป่าไม้ให้หมด
ด้านนายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ ประธานชมรมร่มบินเชียงใหม่ ได้เสนอแนะทางออกเรื่องนี้ว่าว่ามี 4 แนวทางหลักๆ คือ 1. ต้องตั้งตัวแทนของชาวเชียงใหม่ ซึ่งเบื้องต้นประกอบด้วยกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อไปเจรจากับทางผู้บัญชาการทหารบก ให้เชิญศาลมาคุยด้วย เพื่อให้เขาเกิดความละอายใจ และยุติโครงการนี้เอง 2.ผลักดันให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 สั่งยุติโครงการ 3.ฟ้องศาลปกครอง เพราะถือเป็นคดีสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนมีสิทธิร้องเรียนได้ และ 4.ถือเป็นมาตรการสุดท้ายหากไม่สามารถใช้ 3 แนวทางเบื้องต้นให้ยุติปัญหาได้ คือเขียนฎีกาถึงในหลวงผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากวงเสวนาจบลง กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมได้พากันเดินไปเขื่อนเก็บน้ำหนองจอก เพื่อชมโครงการก่อสร้างบ้านพักในพื้นที่ป่าดอยสุเทพ และทำพิธีกรรมกรวดน้ำสาปแช่ง แสดงเจตนารมณ์ไม่เห็นด้วยกับการสร้างบ้านพักในพื้นที่ดังกล่าว.

 

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้