บทบาทนักพัฒนาสังคมในภาคประชาชน กับอุดมการณ์ขับเคลื่อนสิทธิทางวัฒนธรรม

บทบาทนักพัฒนาสังคมในภาคประชาชน กับอุดมการณ์ขับเคลื่อนสิทธิทางวัฒนธรรม

]บทความพิเศษ:             บทบาทนักพัฒนาสังคมในภาคประชาชน กับอุดมการณ์ขับเคลื่อนสิทธิทางวัฒนธรรม

        นักพัฒนาสังคมคือ คนที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน  องค์กรพัฒนาเอกชนคือหน่วยงานที่ทำงานด้านส่งเสริมและพัฒนาสังคม การพัฒนาชุมชนตามชนบทหรือในเมืองชุมชนแอดอัด การประสานความร่วมมือ

NGOs อ่านว่า เอน – จี – โอ เป็นชื่อย่อ มีความหมายว่า หน่วยงานองค์กร โดยที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของภาครัฐหรือราชการเป็นองค์กรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ไม่แสวงหาผลกำไร แต่แสวงหาความร่วมมือ เช่น มูลนิธิโครงการหลวง  มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย  มูลนิธิชัยพัฒนา  สมาคมครู ส่วนองค์กรที่ไม่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ชมรม  เครือข่ายลุ่มน้ำลุ่มน้ำ สหพันธ์  สมาพันธ์ แต่มีสถานะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

คนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน จึงได้เรียกว่า “นักพัฒนาสังคม” ซึ่งมีหลายด้านทั้งการศึกษา ด้านสุขภาพ  ด้านสังคม อาทิเฉกเช่น สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม จึงเรียกว่าองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดแวดล้อม ได้รับคู่มิตรกับสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)  GEF/UNDP

มีบทบาทสำคัญให้ความรู้แก่ประชาชนและเชื่อมประสานงานความเข้าใจ ความร่วมมือกับกรมการปกครอง โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด  ปลัดจังหวัด  นายอำเภอ  เกษตรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด  กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่   สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่  นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน หรือGISDA)และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมอนามัย  หัวหน้าส่วนข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ผู้นำศาสนาทางจิตวิญญาณ และได้เกิดกลไกความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน เช่น การจัดการที่ดินและป่าไม้อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อลดความขัดแย้งเพิ่มความร่วมมือรักษาป่าให้คงสภาพให้มากขึ้น

“นักพัฒนาสังคม” คือ คนที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน ไม่แสวงหาผลกำไร  เป็นคนที่มีความเข็มแข็ง มุ่งมั่น ตั้งใจ  มีความซื่อสัตย์ สุจริต ที่จะทำงานร่วมกับคนทุกข์ คนยาก คนจน คนด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อที่จะร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม ประสาน สร้างสังคมที่เป็นธรรมและมีความยั่งยืน

NGOs ได้โครงการจากที่ไหน คำตอบ: ได้มาจากผู้บริจาคทั่วไป จากภาคเอกชนเช่น บริษัทปูซินเมนต์ไทย  จากรัฐบาลเช่น กองทุนสิ่งแวดล้อม  สสส. สกว.  สวรส. องค์กรการกุศล หรือองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ สหประชาชาติ เช่น กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก GEF/UNDP / IUCN  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ศักยภาพองค์กรและคุณภาพของโครงการ ที่สำคัญคือต้องมาจากความต้องการและการมีส่วนร่วมของชุมชนและสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพ่อและนโยบายของรัฐบาลที่มาจากความต้องการของประชาชนด้วย

GO  อ่านว่า “จี-โอ” เป็นชื่อย่อ มีความหมายว่า หน่วยงานองค์กรที่ทำงานในภาครัฐ คนทำงาน เรียกว่า “ข้าราชการ  พนักงานราชการ  เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมาจากการสอบคัดเลือก การบรรจุ การเลือกตั้ง การแต่งตั้ง การคัดสรร การสรรหา และคำว่าข้าราชการมี 2 ประเภทคือ 1. ข้าราชการประจำ 2.ข้าราชการการเมือง

ใครจะเป็นเอนจีโอได้บ้าง. คือใครก็ได้ที่มีอุดมการณ์หนักแน่นและแน่วแน่และ เดินตามรอยของพ่อทางสายกลางเพื่อสังคมที่เป็นธรรม เป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะทำงานแบบมีรายได้ไม่แน่นอน ไม่มีความมั่นคงในชีวิต ไม่มีเบี้ยเลี้ยง ไม่มีสวัสดิการเหมืองกับข้าราชการ และไม่มีเวลาการทำงานเป็นเวลาที่แน่นอนและชัดเจน แต่การทำงานขึ้นอยู่กับเวลาของชาวบ้านเป็นที่ตั้งหรือเอาชุมชนเป็นตัวตั้งและเอาพื้นที่เป็นเป้าหมาย มีความคิดริเริ่มใหม่ๆมองการณ์ไกล เช่นมองว่าถ้าสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ตัวเองก็จะอยู่เย็นเป็นสุขในตัวของมันเองอยู่แล้ว  ทำงานเพื่อสังคม ต้องมีฐานคิดและมุมมองว่า ถ้าสังคมอยู่ได้ เราก็อยู่อยู่ได้ในตัวแล้ว พร้อมที่จะปกป้องสิทธิชุมชน  สิทธิประโยชน์ของผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ที่เป็นธรรมเสมอ  คนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน จะไม่มีมุมมองและฐานคิดว่า”ต้องพัฒนาฐานะตัวเองให้อยู่ได้ก่อนแล้วค่อย พัฒนาส่วนรวม ค่อยช่วยคนจน”  หากองค์กรใดมีคนประเภทนี้อยู่ องค์กรพัง คนทำงานอยู่ได้ไม่ได้นาน เพราะหากเขาอยู่ได้แล้วเขาจะกลับตัวทันทีและ เขาจะบอกว่า”เราอยู่ได้แล้ว สนใจส่วนรวมมากไม่ดี ส่วนรวมมีแต่ให้ “ส่วนรวมและสังคมให้อะไรกับเราบ้าง” เขาไม่เคยตั้งคำถามตัวเองว่า”ทุกวันนี้ได้ช่วยส่วนรวมอย่างไร ได้ไห้อะไรกับสังคมบ้าง ได้ก้าวคนละก้าวพร้อมกันหรือเปล่า”

การเป็นเอนจีโอ จะต้องมีการศึกษาจบ ดร.ไหม  คำตอบ ไม่จำเป็น แต่ถ้าจบการศึกษา  ดร.ก็ดียิ่ง ไม่จบการศึกษาสูงๆก็ได้ เป็นชาวบ้านก็ได้ เป็นพระก็ดี เป็นข้าราชการก็ดียิ่ง เช่น นายกฤษฏา  บุญราช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประวิณ ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิจิตร  หลังสัน นายบุญลือ  ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม  นายอรรถชา กัมปนาทแสนยากร นายอำเภอดอยสะเก็ต นายสุเทพ  แสนมงคล นายอำเภอแม่ออน นายภุชงค์ อินสมพันธ์ ที่ปรึกษาโครงการภูฟ้า พลเอกสุรินทร์  พิกุลทอง ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

พลเอกวินัย  ทันศรี  ประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายพัลลภ สุวรรณมาลิก ประธานวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดเชียงใหม่  ดร.ชยันต์ วรรธนภูติ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางกนกวรรณ  พรหมตัน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่(ดอยอินทนนท์) นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย หม่อมหลวงปนัดดา  ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.ชลธิศ  สุรัสวดี  นายบุญชอบ  สุทธมนัสวงษ์  นายวิชัย  กิจมี นายสมชัย เบญจชย นักวิชาการป่าไม้ เป็นต้นการเป็นเอนจีโอ จึงไม่จำกัดเพศ ชนชั้นศาสนาและเผ่าพันธุ์ ฐานะการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง

เอนจีโอ  ไม่ใช่นักประท้วง นักปลุกระดม  แต่เป็นทำหน้าที่สื่อกลางข้อมูลที่เป็นจริงระหว่างปัญหาของประชาชนกับสังคมกับภาครัฐ ด้วยการมีเวลา มีคณะทำงานร่วมกัน ประชุม เสวนา แลกเปลี่ยน สรุปบทเรียนและการมีคณะทำงานร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกันที่เป็นธรรมเชิงนโยบายมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันต้องร่วมกับชาวบ้านมีความมั่นใจที่จะแก้ไขปัญหาของตัวเองด้วย

มีคนถามว่าคนทำงานเป็นเอนจีโอ  ทำไมมีบ้าน มีรถใช้ดีๆใช้กัน คำตอบ คือความจริงคนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน ไม่มีทางรวยเลย  คนที่มีฐานะดีส่วนใหญ่ มีมาจากปู่ ย่า ตายาย มาก่อนแล้ว เป็นผู้ที่ได้รับแนวคิด การศึกษามหาวิทยาลัย ได้ครูบาอาจารย์ที่ดี เห็นปัญหาร่วมกัน จึงมาทำงานด้านนี้ และอาศัยทุนของบรรพบุรุษของตัวเองเป็นฐาน ส่วนใหญ่ หรือมีคู่สมรส  ญาติ เป็นข้าราชการ คู่สมรสกู้เงินมาจากสหกรณ์  ธนาคารแล้วมาสร้างบ้าน ซื้อรถและผ่อนน้อยๆระยะยาวเหมือนข้าราชการชั้นผู้น้อยระดับชำนาญงาน ชำนาญการ พนักงานราชการ   ส่วนองค์กรที่มีรถยนต์ใช้ส่วนใหญ่ได้มาจากบริษัท ภาคเอกชนต่างๆเช่น บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย สนับสนุนให้องค์กร หรือ ได้รับการสนับสนุนจากภาคีความร่วมมือระหว่างกระทรวง กรมต่างๆ ของภาคส่วนราชการ

คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGO  เป็นองค์กรที่ไม่มีความมั่นคง ไม่มีรายได้ที่แน่นอน ชีวิตไม่มีความมั่นคงเลย ไม่มีสวัสดิการเหมือนข้าราชการ ต้องดูแลสุขภาพให้ดีเป็นพิเศษ มีโครงการบางช่วงและขาดโครงการบางช่วง บางโครงการพัฒนากว่าจะผ่านกว่าจะได้มาซึ่งโครงการใช้เวลาถึง 5 ปีก็มี แต่ที่นอนคือต้องมีความซื่อสัตว์ สุจริต ทำผิดพลาดยอมรับและปรับปรุงแก้ไขทันที

ถ้าอยากรู้ว่าชีวิต NGOs เป็นอย่างไร ให้ไปถามเมียNGOs จะได้ความจริงทุกมิติ อย่าถามเจ้าตัว เพราะถามเจ้าตัวโดยธรรมชาติแล้วจะได้ข้อมูลไม่ครบเพราะว่าลืมถามเขาหรือเขาลืมบอกเราด้วย  ถ้าอยากรวยขอให้ไปเป็นพ่อค้า แม่ค้า เป็นผู้รับเหมา อยากมีงานทำชีวิตที่มั่นคงขอให้ไปสอบเข้ารับราชการ อย่ามาเป็น NGOs  ถ้าอยากมาเป็น NGOs  อย่าคิดรวยเพราะไม่มีทางรวย และ NGOs มีข้อสรุปว่า สุดท้ายทั้งคนรวยและคนจนก็ตาย ท้ายสุดทั้งคนรวยและคนจนตายไปเอาอะไรไปติดตัวไม่ได้แม้แต่บาทเดียว นี่คือ”ความเป็นธรรม” คนทำงาน NGOs  ต้องมีหลักคิดที่ดีคู่หลักธรรมะเสมอ

อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มีองค์กรพัฒนาเอกชนทำงานในประเด็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้านทรัพยากรน้ำ  ด้านการจัดการที่อยู่อาศัย ที่ดิน ที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณ ด้านสุขภาพ  ด้านการศึกษา ด้านการสื่อสารสาธารณะ ด้านเด็กและเยาวชน มีเครือข่ายเชื่อมโยงกันระดับท้องถิ่นอำเภอ ระดับภูมิภาคจังหวัดและระดับชาติของประเทศมีมากถึง 14  องค์กร ที่ทำงานร่วมกับภาคราชการ

และที่น่ายินดียิ่ง หัวหน้าส่วนราชการอำเภอกัลยาณิวัฒนา ที่ทำงานตามแนวทางตามรอยของพ่อหลวงมีมากขึ้น เช่นนายเสกสรร  บัลลังก์   เกษตรอำเภอกัลยาณิวัฒนา นายแพทย์ประจินต์ เหล่าเที่ยง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ (80 พรรษา) นายอินสอน หน่อเรือง ผอ.โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง น.ส.สมจิตร ตาคำแสง ผอ.โรงเรียนบ้านจันทร์ นายว่างชัย ศิลป์มิตราภาพ ผอ.โรงเรียนบ้านห้วยยา นายประวิทย์  สุริยมณฑล ผอ.โรงเรียนสหมิตรวิทยา

ดร.ธารทิพย์ วงษ์บรรณะ   ผอ.โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ  แพทย์หญิงประณมพร  ศิริภักดี นายอดิศักดิ์   คำมาบุตร              หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์   พ.ต.ท.ธัญญา จันทร์ตา  สวป สภอ..กัลยาณิวัฒนา  นายยุทธนา  คำวัง ผอ.โรงเรียนสามัคคีสันม่วง นายเจนภพ  ตระกูลล้านนาดอย     ประธานสภาวัฒนาธรรมตำบลบ้านจันทร์   นายอัครเดช เรืองกิจคณิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทร์ พ.ต.ท.สนั่น  จันทรบุตร หัวหน้าพนักงานสอบสวน สภอ.กัลยาณิวัฒนา

นายไพรเวช   ศรีบุตรตา หัวหน้าโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ อำเภอกัลยาณิวัฒนา โดยเฉพาะ นายวิจัย  เพ็ญพัฒนากุล นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา พึ่งได้ได้มารับตำแหน่งนายอำเภอได้ไม่นานได้สร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ชะลองการจับกุมชาวบ้านที่ทำกินเดิม และเป็นพื้นที่ได้สำรวจรังวัดแนวเขตที่ทำกินและแนวเขตป่า ตามโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อยและอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี 2552-2554 ที่ใช้งบประมาณทางราชการถึง 14 ล้านกว่าบาท มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานโครงการ  สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1(เชียงใหม่) กรมป่าไม้เป็นเลขาฝ่ายอำนวยการร่วมด้วย

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยก่อนที่ป่าไม้จะมีการจับกุมชาวบ้านขอให้ป่าไม้ ประสานแจ้งนายอำเภอพื้นที่ก่อน เพื่อพิจารณาร่วมกัน นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้อำเภอกัลยาณิวัฒนา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องร่วมกัน ว่าเป็นพื้นที่เก่าหรือใหม่ มีการสำรวจจัดพิกัดตามโครงการต้นแบบ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อยและอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี 2552-2554 หรือไม่และหาทางแก้ไขร่วมกันที่เหมาะสมต่อไป

ตามแนวทาง”กัลยาณิวัฒนาโมเดล”โดยอาศัย มติ ครม.3 สิงหาคม  2553 และมติ ครม.30 มิถุนายน 2541 หรือ คำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 ไปพลางก่อน  สโลแกคำว่า  ไม่เผาเราทำได้” เป็นต้นคิด ของนายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม ขณะดำรงตำแหน่ง นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา

นายเสกสรร  บัลลังก์  เกษตรอำเภอกัลยาณิวัฒนา กล่าวว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา อำเภอกัลยาณิวัฒนา ประสบความสำเร็จอย่างมากในการรณรงค์ เพราะว่าไม่พบการเกิดจุด ความร้อน ในพื้นที่และในช่วงรณรงค์ 60 วันไม่เผา ความสำเร็จนี้เกิดจากความร่วมมือหลายฝ่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนถึง พี่ น้องประชาชนชาวอำเภอกัลยาณิวัฒนา โดยเฉพาะนายอำเภอกัลยาณิวัฒนา ที่ท่านมีบทบาทอย่างมาก เพราะเป็นหัวขบวน เป็นผู้ที่แต่งตั้ง ชุดปฎิบัติการประจำตำบล โดยมี ปลัดอำเภอเป็นหัวหน้าชุด มีเกษตรตำบล พัฒนากรประจำตำบลเป็นคณะทำงาน โดยมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีส่วนร่วมในการวางแผนในการแก้ไขปัญหา

อีกทั้งในพื้นที่รอบข้างหรือแนวตะเข็บ ที่พื้นที่ติดต่อกับอำเภอกัลยาณิวัฒนา เช่นอำเภอปาย อำเภอขุนยวม         อำเภอสะเมิง อำเภอแม่แจ่ม นายอำเภอกกัลยาณิวัฒนาก็ได้ส่งคณะทำงานลงไปพูดคุยทำความเข้าใจ เชื่อมไมตรี  การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ของอำเภอกัลยาณิวัฒนา จากที่หลายพื้นที่ ทำป้ายใหญ่โต ในคำพูด/ตัวหนังสือที่อยู่บนป้ายก็เป็น คำพูดหรือถ้อยคำค่อนข้าง จะแข็ง เช่น ห้ามเผา /หยุดเผา แต่อำเภอกัลยาณิวัฒนา จัดทำเป็น ป้ายเล็กๆ/เป็นสติกเกอร์ ที่สามารถ ติดท้ายรถ ได้

โดยเฉพาะ คำว่า “ 60 วัน ไม่เผา เราทำได้ “ ถ้อยคำนี้ทำให้เกิดความนุ่มนวล มีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา คำๆนี้ในการรณรงค์เพื่อให้พี่น้องเกษตรกร ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่ เพราะคำว่าไม่เผา เราทำได้ เป็นคำที่ง่ายๆ แต่เมื่อใครได้อ่านก็จะ มองดูว่ามีส่วนร่วม ตรงนี้ ถ้าหากไปดูป้าย รณรงค์หลายแห่ง จะเขียนว่า ห้ามเผา หยุดเผา  ถ้าคนที่เข้าใจก็จะมองว่าเขาห้าม แต่ถ้ามองอีกมุม ถ้าเผาใครจะรู้ ไม่ได้เกิดความเป็นพวกเดียวกัน บางทีมองไปว่าก็มีคนทำหน้าที่แล้ว

และผลพวงมาจาก โครงการต้นแบบการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำเภอแม่แจ่ม อำเภออมก๋อยและอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี 2552-2554ด้วย 1 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่สำคัญนายอำเภอกัลยาณิวัฒนา มีนวัตกรรมการบริหารงานรูปแบบตามรอยพ่อ คือดูเหมือนได้กระจายงานมอบหมายให้ปลัดอำเภอรับผิดชอบแต่ละตำบลอย่างชัดเจน ปลัดอำเภอรับผิดชอบแต่ละตำบลเปรียบเสมือนการเป็นนายอำเภอตำบล  นายอำเภอเปรียบเสมือนผู้ว่าราชการจังหวัด

ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง เปรียบเสมือนปลัดจังหวัด กำกับดูแลสนับสนุนนายอำเภอตำบลคือ ตำบลบ้านจันทร์ มอบหมายให้นายสรพงศ์  เตละวานิชปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง เป็นหัวหน้าทีม ตำบลแม่แดดมอบหมายให้นายชัชช์  แก้วบุตร ปลัดอำเภอฝ่ายปกครอง เป็นหัวหน้าทีม  ตำบลแจ่มหลวง มอบหมายให้ นายวีระวัฒน์  กิจมานะทรัพย์ ปลัดอำเภอฝ่ายทะเบียนและบัตรเป็นหัวหน้าทีม แต่ละทีมได้ประสานผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมลงชุมชนทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน

มีบทบาท องค์กรพัฒนาเอกชนหรือNGOs ร่วมทีมด้วย นายวันชัย  ตามเพิ่ม  หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง หรือเป็นที่นิยมเรียกว่า ป.ใหญ่  เป็นหัวหน้าทีมสนับสนุนทีมตำบลด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานช่วยนายอำเภอและงานที่นายอำเภอมอบหมายเชื่อมประสาน ทุกภาคส่วนทุ่มเทอย่างตั้งใจ ทำให้ หมอกควันไฟป่า HOT  Sport  เป็นศูนย์ของอำเภอกัลยาณิวัฒนา เป็นไปตามนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ที่มอบหมายให้แต่ละอำเภอไปดำเนินการแก้ไขหมอกควันไฟป่าอย่างบูรณาการ

สมาคมปกาเกอะญเพื่อการพัฒนาสังคมและสิงแวดล้อม(ป.พล./PASED) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นองค์การสาธารณกุศลไม่แสวงหาผลกำไร ลำดับที่ 799  ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มีบทบาทและทำงานร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ปกครองอำเภอกัลยาณิวัฒนา สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่  สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ (1) เชียงใหม่ กรมป่าไม้  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์  เกษตรอำเภอกัลยาณิวัฒนา  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรพื้นที่สูงวัดจันทร์ กรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์พัฒนาราษฏรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ร่วมกันกำเนินการโครงการชมชนปกาเกอะญอจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ระยะเวลา ปี 2560-2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้มิติวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ส่งเสริมสนับสนุน ชุมชนรู้จักและใช้กฎระเบียบหมู่บ้าน พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาชนสังคมมีส่วนร่วมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณปกาเกอะญอ ลดหมอกควันไฟป่า ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ให้มีความสมดุลยั่งยืน  สอดคล้องนโยบายของรัฐบาล ภายใต้กลไกประชารัฐ

ในการดำเนินงานให้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนภายใต้ มติ ครม.3 สิงหาคม 2553 แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง คำสั่งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง ที่ 1/2559 ลงวันที่ 7 มกราคม 2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง และประกาศจังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2559 เรื่อง การพลิกฟื้นผืนป่าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดเชียงใหม่ และสนองนโยบายของรัฐบาลภายใต้กลไกประชารัฐ ในการดำเนินงานกิจกรรมโครงการให้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน จึงแต่งตั้งคณะกรรมอำนวยการและคณะทำงานโครงการชุมชนปกาเกอะญอ จัดการทรัพยากธรรมชาติป่าไม้ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีองค์ประกอบ

  1. คณะที่ปรึกษา มีอธิบดีกรมป่าไม้2. พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง    ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นที่ปรึกษา

2.คณะกรรมการอำนวยการ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่   ประธานกรรมการอำนวยการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านความมั่นคง)รองประธานกรรมการอำนวยการ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นกรรมการอำนวยการและเลขานุการ

  1. คณะทำงาน มีนายอำเภอกัลยาณิวัฒนา   ประธานคณะทำงาน  ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง รองประธานคณะทำงาน นายกสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม      คณะทำงานและเลขานุการ  จึงเป็นเป็นบทเรียนตัวอย่างการทำงานเชิงบูรณาการแบบประชารัฐที่ประสบความสำเร็จของอำเภอกัลยาณิวัฒนาโมเดล

 

บทความ โดย  นายพร้อมพล   สัมพันธโน นายกสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้