นักวิชาการทุกมุมโลก แห่ร่วมประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13

นักวิชาการทุกมุมโลก แห่ร่วมประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13

- in headline, รอบรั้วทั่วเหนือ

เชียงใหม่ (15 ก.ค.60) / ประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาคึกคัก นักวิชาการ-ผู้สนใจทุกมุมโลกแห่ร่วมมากกว่า 500 คน หวังเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เข้าใจสังคมไทยในมิติต่างๆ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลา 15.30 น. ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ. เชียงใหม่ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ครั้งที่ 13 หัวข้อ “Globalized Thailand: Connectivity, Conflict and Conundrums of Thai Studies” ในระหว่างวันที่ 15-18 ก.ค.นี้ โดยมี ศ.เกียรติคุณ น.พ.อาวุธ ศรีศุกรี อุปนายกสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิด และมีนักวิชาการ รวมทั้งผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 500 คนการจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ทั้งคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ท้ังไทยและต่างประเทศ ที่สนใจเกี่ยวกับประเทศไทย ได้นําเสนอบทความ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ เพื่อทําความเข้าใจสังคมไทยในมิติต่างๆ รวมทั้งทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสังคมไทยท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความเชื่อมโยง (Connectivity) ในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเซียน เพราะการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่นี้ได้ซ้อนทับกับโครงสร้างการเศรษฐกิจและการเมืองแบบเดิม ซึ่งยังคงมีความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง นํามาซึ่งปัญหาใหม่ที่สลับซับซ้อนในสังคมไทยมากยิ่งขึ้นผศ.วสันต์ ปัญญาแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ถือเป็นครั้งที่ 2 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีโอกาสเป็นเจ้าภาพ ซึ่งตามธรรมเนียมจะจัดขึ้นทุก 3 ปี เวียนกันไประหว่างไทยกับต่างประเทศ โดย มช. เคยเป็นเจ้าภาพงานครั้งที่ 6 เมื่อ 20 ปีผ่านมาแล้ว ถือว่าเป็นงานชุมนุมเครือข่ายชุมชนวิชาการระดับนานาชาติ จึงคาดหวังว่าจะมีนักวิชาการจากทั่วโลกที่สนใจเรื่องไทยศึกษา ซึ่งมีอยู่ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ของโลก เช่น ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยุโรป เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน“ครั้งที่ 12 จัดที่ซิดนีย์ คณะนักวิชาการที่เดินทางไปเสนองานครั้งนั้น เห็นว่า มช.มีโครงการล้านนาคดีศึกษา น่าจะรับเป็นเจ้าภาพต่อ และเมื่อหารือกับ น.พ.นิเวศน์ นันทจิต อดีตอธิการบดีแล้ว ก็ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดครั้งที่ 13 ทำให้มีกิจกรรมครั้งนี้ขึ้น โดยธีมของงานเน้นเรื่องประเทศไทยกับโลก และเป็นเอกลักษณ์ว่าถ้าจัดที่เชียงใหม่ต้องมีเรื่องล้านนาคดี ซึ่งมีทั้งที่ศึกษาโดยนานาชาติ และท้องถิ่น จึงมีความตั้งใจว่าล้านนาคดีที่ศึกษาโดยท้องถิ่น จะเป็นห้องที่ใช้ภาษาไทยนำเสนอผลงานตลอด” ผศ.วสันต์ กล่าวทั้งนี้วงการไทยศึกษา เป็นวงการที่เปิดกว้าง ได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ นักวิชาการ และภายหลังก็มีภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมด้วย และมาจากหลายประเทศ แต่ก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย มีนักวิชาการรุ่นเก่าที่เข้าร่วมตั้งแต่ครั้งแรกๆ เริ่มเกษียณไปจำนวนมาก และบางท่านก็เสียชีวิตไปแล้ว ในงานนี้จึงมีเวทีที่อุทิศถึงผู้เสียชีวิตที่เชี่ยวชาญด้านไทยศึกษาที่ควรยกย่อง 6 คน อาทิ เบน แอนเดอร์สัน, อ.ลิขิต ธีรเวคิน เป็นต้นหัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนำเสนอผลงาน ต้องยอมรับว่าสมัยนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่นักวิชาการต้องแสดงจุดยืน โดยเฉพาะนักวิชาการที่สนใจปัญหาบ้านเมือง แม้จะยังไม่ถึงขั้นนักวิชาการสาธารณะ ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์อะไรบ้าง แต่ก็เป็นการพูดผ่านเวทีวิชาการในห้อง และเนื่องจากในวันสุดท้ายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ก็อาจมีอะไรที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ หากก็ไม่กังวลในจุดนี้มากนักด้าน ศ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าการที่ มช.เป็นเจ้าภาพครั้งนี้ ถือว่าได้เปรียบมาก เนื่องจากเชียงใหม่มีจุดเด่นหลายด้าน ทั้งล้านนาคดีโบราณศึกษา แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ และค่าเงิน-ค่าครองชีพที่ถูกกว่าหลายประเทศ ดึงดูดความสนใจจากผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างมาก บางคนอาจเข้าร่วมงานแค่วันเดียว และอาศัยจังหวะท่องเที่ยวภายในพื้นที่ ส่วนการจัดงานในครั้งต่อไปยังไม่มีเจ้าภาพเสนอตัว จึงอยากให้เวียดนามรับเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 14 เพราะมีแหล่งธรรมชาติ และค่าเงินถูก ดึงดูดผู้คนให้สนใจได้ดีเช่นกัน.

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้