นักวิชาการแนะจับตาเลือกตั้ง ชี้เป็นการทดสอบจังหวะก้าวเดิน ปชต.ไทย

นักวิชาการแนะจับตาเลือกตั้ง ชี้เป็นการทดสอบจังหวะก้าวเดิน ปชต.ไทย

- in headline, จับกระแสสังคม

เชียงใหม่ / อ่านการเมืองไทย“บทว่าด้วยการเลือกตั้ง” นักวิชาการย้ำความขัดแย้งยังขยายตัว และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แต่กลไกการสืบทอดอำนาจก็ซับซ้อน-แนบเนียน แนะจับตาการเลือกตั้ง 24 มี.ค.อย่างใกล้ชิด “ศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง” ชี้ปี ‘62 คือการทดสอบจังหวะก้าวเดินของระบอบประชาธิปไตยไทยเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 มี.ค.62 ที่ห้องประชุม 1 อาคารรวมวิจัยและบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการเสวนาเรื่อง “อ่านการเมืองไทย บทว่าด้วยการเลือกตั้ง” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล จากคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  และ ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โดยมี ดร.พิสิษฏ์ นาสี จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินรายการศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นมากติดอันดับของโลก และโมเดล คสช.ในครั้งนี้ ก็เหมือนกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มีการรัฐประหารในปี 2500 แล้วกลุ่มอำนาจก็อยู่ยาว พอเลือกตั้งแล้วก็เกิดรัฐประหารอีก จนถูกเรียกว่าวงจรอุบาทว์ ซึ่งต่างจากก่อนหน้านี้ คือช่วง 2475-2490 ยังไม่มีวงจรอุบาทว์เกิดขึ้น ไม่มีสภาฝักถั่ว หรือรัฐสภาที่สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติยกมือแสดงความเห็นชอบตามรัฐบาลที่เป็นฝ่ายบริหาร ไม่ทำหน้าที่คานอำนาจอย่างแท้จริง พอหลังปี 2500 บทบาทนักการเมือง กับชาวบ้านที่เป็นฐานเสียงจริงๆ ก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้อีก ต้องผ่านหัวคะแนน สิ่งที่ได้จึงเป็นนักการเมืองที่อยู่ภายใต้การครอบงำของรัฐบาล และประชาชนขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองรศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล กล่าวว่า การทำความเข้าใจการเลือกตั้ง 24 มี.ค.62 ต้องมาจากความเข้าใจการเมืองไทยโดยรวม ที่มีคนพูดกันอย่างกว้างขวางว่า นักการเมืองหรือพรรคการเมืองต้องเลือกข้าง ว่าจะเป็นประชาธิปไตย หรือเผด็จการ ซึ่งเป็นภาพซ้อนของ 27 ปีที่ผ่านมา หรือปี 2535 ที่แยกพรรคการเมืองเป็นพรรคเทพ กับพรรคมาร นั่นแสดงว่าการเมืองไทยคือแพทเทิร์น มีแบบแผน และหากสังเกตรัฐประหารปี 2549 กับ 2557 คืออันเดียวกัน เพียงแต่มีการพักยก และทำให้เข้มข้นขึ้น ถ้าสังเกต จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 40, 50, 60 มีแนวโน้มความเป็นเผด็จการมากขึ้น โดยรัฐธรรมนูญปี 40 ถือว่าดีที่สุดใน 3 ฉบับนี้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ถ้าย้อนไป 27 ปีก่อน ความขัดแย้งยังเกิดขึ้นเฉพาะในกรุงเทพฯ และบางส่วนของเมืองใหญ่ แต่ภายหลังได้ลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้เรียกได้ว่าเกิดความขัดแย้งขึ้นทุกหย่อมหญ้า แม้กระทั่งนักศึกษาก็ตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น และเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นได้ ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ที่เคยกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ขยายตัวไปทุกพื้นที่ ประชากร ไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม หากมาจากทุกเพศ ทุกวัย ช่องทางการสื่อสาร มีการใช้โซเชียลมีเดียช่วย รวมถึงประเด็นความขัดแย้งที่หลากหลาย จึงก่อให้เกิดพรรคใหม่ๆ ขึ้นมากกว่า 70 พรรค เช่น พรรคครู พรรคสหกรณ์ พรรคยางพารา พรรคทวงคืนผืนป่า“ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการบิหารพรรครวมพลังประชาธิปไตย พูดถูก ที่การต่อสู้ครั้งนี้ ไม่ใช่ประชาธิปไตยสู้เผด็จการ แต่เป็นการต่อสู้ของฝ่ายท้าทาย กับฝ่ายปกป้องสถาบัน และจากสถิติการเลือกตั้งของไทยที่ผ่านมา พบว่าปี 2548 มีผู้ออกมาใช้สิทธิ 72% และปี 2554 เพิ่มเป็น 75% สูงกว่าประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ จึงเชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผู้ใช้สิทธิไม่ต่ำกว่า 75% เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญ ไม่ใช่ประชาธิปไตย 4 วินาที เหมือนอย่างที่คนคิดดูถูกประชาธิปไตยกล่าวอ้าง ในขณะเดียวกันการทำรัฐประหารก็มีความยากขึ้นเรื่อยๆ อย่างครั้งล่าสุดในปี 57 ก็มีการปูพื้นมาล่วงหน้าถึง 6 เดือน จึงทำได้” รศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง อธิบายว่าการเมืองเป็นเรื่องโหดร้าย ทำให้มีคนตายจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และแม้ว่าการรัฐประหารจะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อว่ากลไกในการสืบทอดอำนาจจะทวีความซับซ้อนขึ้นตาม เห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ขณะนี้ไปจนถึง 24 มี.ค.62 หลายพรรคการเมืองยังแขวนอยู่บนเส้นด้าย และยังมีการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อรองรับชัยชนะหลังการเลือกตั้งไว้ด้วยการที่ประชาธิปไตยไทยไม่ก้าวหน้า เพราะคนถูกทำให้กลัวจากวาทกรรมทางการเมืองต่างๆ ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามดูเลวร้าย ขณะเดียวกันเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองกับประชาชนยังขาดหายไปตั้งแต่ปี 2500 และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดมาคือแนวโน้มความรุนแรงทางการเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขั้นเสียเลือดเนื้อ ดังนั้นจึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าตั้งแต่ขณะนี้เป็นต้นไป จนถึงการเลือกตั้ง 24 มี.ค. หรือยาวไปถึงหลังเลือกตั้ง พรรคประชาธิปไตยจะพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน จนเกิด Land Slide เหมือนมาเลเซียหรือไม่ หรือไม่ก็อาจมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ปีนี้จึงถือเป็นปีทดสอบจังหวะก้าวเดินของระบอบประชาธิปไตยไทย จะเร็วหรือช้า รุนแรงแค่ไหน อย่างไร สิ่งที่อยากจะชวน ก็คือให้พากันไปดูการเลือกตั้ง ออกไปร่วมสังเกตการณ์กันให้มากๆด้าน ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ กล่าวว่า ตอนนี้มีการออกกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจ สกัดคู่แข่งทางการเมือง การเลือกตั้งจึงเป็นเพียงละครฉากหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายอำนาจดูดี ชอบธรรมขึ้น แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่สำคัญคือกฎหมาย ทั้งที่การเลือกตั้งต้องเปิดเสรีให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ของใหม่ แต่ของเรากลับทำให้ได้ของเก่า เรียกว่าการเมืองไทยวันนี้ไม่ได้เล่นในระบบ มีการเล่นนอกระบบซึ่งจากการวิเคราะห์จะเห็นว่ามีวาทกรรมทางการเมืองเกิดขึ้นเยอะมาก เพื่อควบคุมฝ่ายตรงข้ามอย่างแนบเนียน และยังมีการใช้แนวคิดชาตินิยมอย่างได้ผล เพราะคนไทยถูกปลูกฝังมานานจนกลายเป็นความฝังใจ แนวคิดนี้จึงเป็นหอกข้างแคร่ของประชาธิปไตย เนื่องจากในความเป็นจริงเมืองไทยเป็นเมืองที่มีความหลากหลายของผู้คนและชาติพันธุ์มาก และจากงานวิจัยพบว่าเด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานต่างชาติ มีผลการเรียนอยู่ในลำดับ 1-10 ขณะที่เด็กที่อ้างว่าเป็นไทยแท้ กลับเรียนแบบไม่ค่อยใส่ใจ อยู่ในลำดับหลังๆ แต่เด็ก 10 คนแรก กลับถูกมองข้ามเป็นต่างด้าว ไม่ใช่ประชากรที่มีคุณภาพ ทำให้คนกลุ่มนี้เป็นมนุษย์ล่องหน ฉะนั้นหากจะทำให้การเมือง และประชาธิปไตยไทยก้าวหน้า ก็ต้องมองและยอมรับความเป็นจริงให้ได้ก่อน.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้