ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบนเผย 9 เดือน ให้สินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากกว่า 2.6 พันล้านบาท

ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบนเผย 9 เดือน ให้สินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากกว่า 2.6 พันล้านบาท

ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน เผยผลงานไตรมาส 3 จ่ายสินเชื่อสู่ภาคเกษตรกรรมผ่านผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อยกว่า 2.6 พันล้านบาท ควบคู่การทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานนโยบายรัฐกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก พร้อมลงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยแบบครบวงจร

นายภานิต ภัทรสาริน ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน เผยผลการดำเนินงาน  9 เดือนในภาพรวมทั้งประเทศของปีบัญชี 2560 (1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2560) ว่า สามารถสนับสนุนสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร ผ่านผู้ประกอบการรายย่อยได้ จำนวน 438,000 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดสินเชื่อคงเหลือเพิ่มเป็น 1,317,339 ล้านบาท หรือขยายตัวสูงกว่าต้นปีบัญชี 3.16% โดยธนาคารมีสินทรัพย์ รวมอยู่ 1,693,208 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีบัญชี 4.7% มีรายได้รวม 68,980 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 61,140  ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 7,840 ล้านบาท ด้านสถานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ระดับ  12.18% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดที่ 8.50%

ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน มีเขตพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ผลงาน  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีดังนี้

  1. การเติบโตสินเชื่อเพิ่มจากต้นปีบัญชี 2560 จ่ายสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 2,661 ล้านบาท คาดการณ์ว่าสิ้นปีบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 เพิ่มขึ้นจากต้นปีประมาณ 6,300 ล้านบาท การเติบโตจำแนกตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามภารกิจของธนาคาร ประกอบด้วย กลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบ (SMALL) การเติบโตสินเชื่อลดลงจากต้นปี จำนวน 45 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าภาคเกษตรทั่วไป (SMART) เพิ่มขึ้นจากต้นปี 1,394 ล้านบาท และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการเกษตร (SMAEs) เพิ่มขึ้นจากต้นปี 1,314 ล้านบาท รวมการเติบโต ทั้ง 3 กลุ่ม 2,661 ล้านบาท
  2. ด้านเงินรับฝาก มีจำนวน 123,731 ล้านบาท เพิ่มจากต้นปี 4,038 ล้านบาท คาดการณ์ ณ 31 มีนาคม 2561 จะมีเงินฝากคงเหลือ 128,731 ล้านบาท เพิ่มเป็น 58% จากต้นปีโดยมีเงินฝากที่เป็นที่นิยม ได้แก่ สลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดเกษตรมั่งคั่ง จำหน่ายหมดแล้วเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 จำนวน  6,047,154,900 บาท และเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค ซึ่งเป็นเงินฝากออมทรัพย์ประเภทมีรางวัล โดยจะจับรางวัล ปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคมและกรกฎาคมของทุกปี
  3. การดำเนินงานโครงการสนับสนุนด้านการเงินแก่เกษตรกร เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีจำนวน 9 โครงการ โดยมีเป้าหมายการให้สินเชื่อจำนวน 1,082 ล้านบาท ให้สินเชื่อแล้ว 525 ล้านบาท มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 19,000 ราย มีพื้นที่การเกษตร จำนวน 179,000 ไร่ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อ เช่น การรวบรวมกาแฟที่จังหวัดเชียงราย  และแม่ฮ่องสอน การเลี้ยงโคนม และโคเนื้อ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และพะเยา การทำนาข้าวอินทรีย์ที่จังหวัดลำปาง และน่าน การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จังหวัดลำปาง เป็นต้น
  4. การส่งเสริมให้ชุมชนที่มีจุดเด่นในด้านวัฒนธรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และประเพณีท้องถิ่น  ที่สามารถพัฒนาศักยภาพและยกระดับขึ้นเป็นชุมชนการท่องเที่ยว จำนวน 17 ชุมชน สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชน มุ่งเน้นให้ดำเนินการโดยกระบวนการกลุ่ม ให้สมาชิกในชุมชนบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ดังนี้
    • จังหวัดเชียงราย ชุมชนบ้านท่าขันทอง, ชุมชนบ้านสันทางหลวง

4.2 จังหวัดแพร่ ชุมชนบ้านบุญแจ่ม , ชุมชนบ้านนาคูหา

4.3 จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนสบวิน , บ้านปางต้นเดื่อ

4.4 จังหวัดลำปาง ชุมชนบ้านวอแก้ว , บ้านท่าช้าง

4.5 จังหวัดลำพูน ชุมชนบ้านทรายทอง , บ้านแพะต้นยางงาม

4.6 จังหวัดน่าน ชุมชนบ้านโป่งคา , ชุมชนบ้านหนองผุก, ชุมชนบ้านศรีนาป่าน, ชุมชนบ้านน้าเกี๋ยนพัฒนา

4.7 จังหวัดพะเยา ชุมชนบ้านสถาน 2, ชุมชนบ้านปัว

4.8 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านแพมบก

  1. การขับเคลื่อนเครือข่ายทางการเงิน เพื่อเชื่อมระบบงานสินเชื่อและระบบงานการเงิน เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการเข้าถึงลูกค้า อำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมของลูกค้าธนาคาร โดยได้ดำเนินการนำร่องที่ กองทุนหมู่บ้านทุ่งรวงทอง พื้นที่ดำเนินงานของสาขาแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 929 คน จำนวนหมู่บ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 19 หมู่บ้าน จำนวนประชากร  4,694 คน (เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. จ านวน 1,362 คน) ปัจจุบัน กทบ.ทุ่งรวงทอง มีการให้บริการธุรกรรม ดังนี้

5.1 ด้านการเงิน ได้แก่ รับฝาก – ถอนเงิน และรับชำระค่าสินค้าและบริการ

5.2 ด้านการอำนวยสินเชื่อ ได้แก่ ร่วมเป็นพยานในการตรวจสอบที่ดินจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ส่งหนังสือแจ้งกำหนดชำระหนี้ และหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ำประกัน

5.3 ด้านการสนับสนุนความรู้และการตลาด ได้แก่ เป็นเครือข่ายให้คำปรึกษาทางการเงินภาคครัวเรือนแก่สมาชิกชุมชนที่สมัครใจ

  1. การขับเคลื่อนงานตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการตลาด ประชารัฐขั้นที่ 1 เพื่อตอบสนองนโยบายของธนาคารและรัฐบาล ได้มีผู้ประกอบการ และลูกค้าของ ธ.ก.ส. มาขึ้นทะเบียน จำนวน 2,869 ราย ได้เปิดตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. พร้อมกันทั้ง 8 จังหวัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 จัดพื้นที่จำหน่ายบริเวณสาขาภายใต้รหัส “888” (8 ธันวาคม 8 จังหวัด ของดี 8 อย่าง) มีสาขา ร่วมเปิดตลาด จำนวน 28 ตลาด มีผู้ขาย 240 ราย และมียอดขายทั้งสิ้น 386,874 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการเปิด ตลาดครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด 65 ตลาด ผู้ขายจำนวน 389 ราย ยอดขายสะสม ณ 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 796,958 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการ สินค้าเกษตร สินค้า OTOP SMEs วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อยสามารถนำสินค้าคุณภาพส่งตรงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง จะขยายพื้นที่ตลาดในสาขาที่มีความพร้อมให้มากที่สุดเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย
  2. งานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แก่ชุมชนเพื่อสร้างฝายชะลอน้ำ ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปี 2560 ดังนี้

7.1 ฝายชะลอน้ำขนาดเล็ก (ฝายต้นน้ำ) จำนวน 3,088 ฝาย

7.2 ฝ่ายชะลอน้ำขนาดกลาง (แบบถาวร) จำนวน 307 ฝาย

ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มีน้ำอุปโภค-บริโภค จำนวน 39,446 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ 144,787 ไร่

  1. มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 มีผู้มาลงทะเบียนทั่วประเทศ ทั้งสิ้นจำนวน 14,176,170 ราย ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย จำนวน 3,959,030 ราย และมีหนี้สินทั้งในและนอกระบบ จำนวน 1,455,508 ราย (แบ่งเป็นเกษตรกรที่มีหนี้สินในระบบ 1,007,012 ราย เกษตรกรที่มีหนี้สินนอกระบบ 448,496 ราย)

ในส่วนของ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด มีจำนวนผู้ลงทะเบียน 1,164,991 ราย เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย  477,646 ราย และในจำนวนนี้มีหนี้นอกระบบ 45,782 ราย จำนวน 2,249 ล้านบาท และต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 มกราคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดย ธ.ก.ส. รวม 3 มาตรการ 8 โครงการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 พัฒนาตนเอง จำนวน 2 โครงการ

1.1 โครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ  ปี 2560

1.2 โครงการเงินฝากกองทุนทวีสุข

มาตรการที่ 2 พัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จำนวน 2 โครงการ

2.1 โครงการสินเชื่อชุมชน ปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย (XYZ)

2.2 โครงการสินเชื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560

มาตรการที่ 3 ลดภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ จำนวน 4 โครงการ

3.1 โครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของผู้มีรายได้น้อยในระบบธ.ก.ส.

3.2 โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ระยะที่ 3

3.3 โครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชนเพื่อป้องกันแก้ไขหนี้นอกระบบ

3.4 โครงการสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยเพื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2

  1. โครงการชำระดีมีคืน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 ธันวาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบโครงการ เพื่อเป็นการจูงใจและลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้ารายย่อยที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้ารายย่อยที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ ณ 30 พฤศจิกายน 2560 ไม่เกิน 300,000 บาท จำนวน 2.3 ล้านราย ต้นเงิน 220,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561- 31 ธันวาคม 2561 ต้นเงินกู้ 220,000 ล้านบาท โดยประมาณการดอกเบี้ยที่คืนให้เกษตรกร จำนวน 4,620 ล้านบาท

ด้้านนโยบายรัฐบาลที่มอบหมายให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก มีนโยบายที่สำคัญ ดังนี้

  1. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งมีทั้งโครงการที่ช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สิน การลดภาระค่าใช้จ่าย การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต การคุ้มครองความเสียหายจากภัย ธรรมชาติ รวมถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปีการผลิต 2560/61 ที่ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้วจำนวน 6 ล้านราย จำนวนเงิน 34,000 ล้านบาท

ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้ว 394,108 ราย จำนวน เงิน 2,912 ล้านบาท

  1. มาตรการส่งเสริมปรับเปลี่ยนการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพ และลดพื้นที่การทำนาไม่เหมาะสม โดยส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ โคเนื้อ แพะ พืชอาหารสัตว์ มีเกษตรกรได้รับการ สนับสนุนสินเชื่อกว่า 45,700 ราย เป็นเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขา ภาคเหนือตอนบน ได้จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 3,123 ราย จำนวนเงิน 22.2 ล้านบาท
  2. มาตรการพัฒนายางพาราทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนสถาบันเกษตรกรในการรับซื้อและรวบรวมยางพารามาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และเชื่อมโยงธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีสถาบันเกษตรกรได้รับการสนับสนุน 554 แห่ง วงเงินสินเชื่อกว่า 7,900 ล้านบาท ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้สนับสนุนไปแล้ว 6 แห่ง จำนวนเงิน 33.8 ล้านบาท
  3. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อบรรเทาภาระหนี้สิน ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิต เป็นต้น มีเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนสินเชื่อกว่า 201,700 ราย สถาบันเกษตรกร 221 แห่ง จำนวน 26,000 ล้านบาท ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้สนับสนุนสินเชื่อกว่า 2,274 ราย จำนวนเงิน 149.96 ล้านบาท.

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้