ทีมวิจัยมะเร็งกระดูก คณะแพทย์มช.แนะญาติหรือผู้ป่วยให้รีบเข้ารับการรักษาทันทีที่รู้ตัว ชี้มีโอกาสหายหรือรอดชีวิต

ทีมวิจัยมะเร็งกระดูก คณะแพทย์มช.แนะญาติหรือผู้ป่วยให้รีบเข้ารับการรักษาทันทีที่รู้ตัว ชี้มีโอกาสหายหรือรอดชีวิต

ทีมวิจัยมะเร็งกระดูก คณะแพทย์มช.แนะญาติหรือผู้ป่วยให้รีบเข้ารับการรักษาทันทีที่รู้ตัว ชี้มีโอกาสหายหรือรอดชีวิต เผยสังคมมุมมืดมักฉวยโอกาสชักจูงอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากและอ้างรักษาหายขาดได้ วอนให้เชื่อมั่นแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันเป็นหลัก

วันที่ 25 ธ.ค. 2560 ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย ผศ.นพ.วิชัย ชื่นจงกลกุล  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ,รศ.ดร.นพ.ดำเนินสันต์ พฤกษากร หัวหน้าทีมวิจัยมะเร็งกระดูก ของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รศ.ดร.นพ.ดำเนินสันต์ พฤกษากร อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ผศ.นพ.สัณหวิชญ์ จันทร์รังสี  อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ ,ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวประจำปี 2560 พร้อมแถลงผลสำเร็จการผ่าตัดผู้ป่วยให้เหลือครึ่งตัวและสามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวได้ปกติ หลังจากป่วยด้วยโรคมะเร็งกระดูก

รศ.ดร.นพ.ดำเนินสันต์ พฤกษากร ทีมวิจัยมะเร็งกระดูก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การวิจัยในเรื่องการผ่าตัดมะเร็งครั้งนี้ ได้รับทุนวิจัยที่สนับสนุนโดยคณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สวทช. ได้ศึกษาพบว่า อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ในประเทศไทย มีแนวโน้มจะรักษาให้ประสบความสำเร็จน้อยกว่า ประเทศในแถบอเมริกา และแถบยุโรป โดยเฉลี่ยน่าจะมีอัตราการรอดชีพ (รักษาหายขาด) ถึงประมาณ 70% แต่ผลการรักษาในประเทศ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40% เท่านั้น

“โดยในอัตราการรักษาหายขาดที่ต่ำกว่าต่างประเทศ ไม่ใช่เพราะว่าวิธีการรักษา และยาของประเทศเราไม่ได้มาตรฐาน แต่ปัญหาเกิดจากความร่วมมือของผู้ป่วยในการเข้ารับการรักษา ซึ่งจากการวิเคราะห์ลงลึกไปในข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตามวิธีมาตรฐานที่ทีมแพทย์แนะนำ มารับการรักษาตั่งแต่ในช่วงเริ่มเป็นและภาวะโรคยังไม่ลุกลาม ผลการรักษาของผู้ป่วยไทยก็อยู่ในระดับมาตรฐาน แต่กลุ่มผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรับเคมี การผ่าตัด  และกลุ่มที่ลังเล หรือของลองใช้วิธีอื่น ๆ ดูก่อน พอไม่ได้ผลค่อยหวนกลับมาใช้วิธีที่แพทย์แนะนำเกิน 3 เดือน พบว่ามีโอกาสที่จะสำเร็จในการรักษาน้อยกว่า 10% และ ประมาณ 20% ตามลำดับ”ทีมวิจัยมะเร็งกระดูก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

เมื่อมาวิเคราะห์รวมกันทำให้ อัตราการรักษาโรคหายของประเทศโดยรวมทั้งกลุ่ม ตกลงต่ำอย่างน่าตกใจ ทั้งนี้ทางทีมวิจัยของคณะแพทย์ได้วิเคราะห์แล้วว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในเชิงสาธารณสุขที่ออกแนว การส่งเสริมสุขภาพ และความเข้าใจของประชาชน เพียงแค่ประชาชนทุกคน เข้าใจปัญหา เปิดใจรับฟังแพทย์และพยาบาล สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ โดยไม่ขัดขวางต่อการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีปัจจุบัน ก็จะทำให้ อัตราการเสียชีวิตที่หายไปเกือบ 20% กลับคืนมาได้อย่างไม่ยาก

อย่างไรก็ตามร้อยละ 20 สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระดูกในประเทศไทย ถือเป็นปัญหาใหญ่ในระดับชาติ  แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ 100% ของชีวิตคนๆ หนึ่งสำหรับครอบครัวนั้น ทางคณะแพทย์จึงอยากจะขอรณรงค์ ทุก ๆ ครอบครัว ที่มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูก ให้เข้ากลับมารับการรักษาด้วยวิธีแผนปัจจุบัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนไทย

ทีมวิจัยมะเร็งกระดูก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ซึ่งมักจะพบมากในเด็กและวัยรุ่น ทำให้ทราบว่า เมื่อผู้ป่วยและครอบครัวทราบผลการวินิจฉัยจากหมอ สภาพจิตใจของพ่อแม่และครอบครัว จะเหมือนล่องเรือลำน้อยอยู่ในมหาสมุทร ทันทีมันเคว้งคว้างไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ในเวลาที่ครอบครัวมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอเปราะบางที่สุด กลับเป็นเวลาที่ง่ายที่สุดที่จะถูกชักจูง ทุกคนต้องการคำมั่นสัญญาจากหมอว่า ลูกจะหาย 100%

“ลูกคุณมีโอกาสหายถึง 70% ก็ไม่ทำให้รู้สึกเติมเต็มความสบายใจได้ดีนัก แค่คำพูดว่า หมอจะทำให้ดีที่สุดนะครับ ดูเหมือนจะน้อยเกินไปสำหรับครอบครัว ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับครอบครัวคนไข้ห่างเหินออกไป เราไม่สามารถสัญญาอะไรไปได้มากกว่านี้ แต่เราจะทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ การสัญญาอะไรไปมากกว่านี้นั้นก็คงเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่มากเกินไป เราอยากจะส่งต่อความเป็นห่วงนี้ถึงทุกครอบครัวเลยว่า ทันทีที่รู้ว่าบุตรหลานของท่านเป็นโรคร้าย สิ่งแรกคือ ผู้ปกครองต้องเข้มแข็ง ต้องเชื่อมั่นว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ขั้นตอนการรักษาที่ยาวนาน หลายครั้งที่ท่านจะเห็นลูกหลานเอ่ยคำว่าหนูไม่ไหว แล้ว  ถ้าท่านไม่ให้กำลังใจลูกหลานของท่าน ท่านก็อาจจะไม่มีลูกให้อยู่ด้วยไปตลอดชีวิต” รศ.ดร.นพ.ดำเนินสันต์ กล่าวและเสริมอีกว่า

ในเวลาที่ท่านอ่อนแอ และเปราะบางที่สุด ในสังคมก็มีมุมมืด ที่มาในหลายรูปแบบ ที่จะชักจูงไปในทางที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวท่านเอง  โดยกลุ่มคนเหล่านี้อาจจะมาในหลายรูปแบบ  เช่น  ผู้มีอิทธิฤทธ์  ผู้มีความเชียวชาญในการรักษามะเร็งที่ไม่ใช่หมอ  อาหารเสริม ขอให้ข้อสังเกตต่อไปนี้  การชักจูงใดที่ 1. ก่อให้ท่านต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอย่างมาก  (หมอและพยาบาลรักษามะเร็งไม่เคยเรียกเงินจากท่าน)  2.กล่าวอ้างว่ารักษาได้หายขาด 100%  (หมอและพยาบาลไม่เคยโฆษณาผลการรักษาที่เกินจริง) และ 3.มีแนวโน้มจะชักชวนให้หยุดพูดคุยหรือ เลิกเชื่อหมอแผนปัจจุบัน  (หมอและพยาบาลมักจะไม่ห้ามการใช้วิธีทางเลือกร่วมด้วย ตราบใดที่ยังใช้วิธีแผนปัจจุบันเป็นหลัก)

หากพบเหตุผลในข้อใด ข้อหนึ่งในสามข้อ ให้พึงระวังว่าคนกลุ่มนี้กำลังหวังผลประโยชน์จากตัวท่าน เราไม่เคยห้ามคนไข้ให้ใช้วิธีทางเลือก ท่านสามารถพูดคุยและใช้วิธีการเหล่านี้ร่วมด้วยได้ ถ้าต้องการ แต่ขอให้มั่นใจและพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันเป็นหลัก  เรามีตัวอย่างครอบครัวที่เข้มแข็ง ซึ่งพวกเค้าอยากส่งกำลังใจให้ครอบครัวที่มีคนเป็นมะเร็ง ทุกครอบครัวในประเทศไทย และขอช่วยเป็นแรงสำคัญในการรณรงค์ ให้ทุกคนเข้าร่วมการรักษาตามแพทย์แผนปัจจุบัน

ทางด้านนางทับทิม จ่อแก้ว มารดาของน.ส.สุทธิดา จ่อแก้วหรือน้องเอง หนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งกระดูก กล่าวว่า เมื่อรู้ว่าลูกจะต้องผ่าตัดครึ่งตัว ในตอนนั้นรู้สึกรับไม่ได้เพราะจะต้องกลายเป็นคนพิการและสิ่งที่อันตรายมากกว่านั้นคือ เสียชีวิตแต่ก็มีสิทธิรอด จึงทำให้ตัดสินใจยอมเสี่ยงเพื่อให้มีชีวิตรอด แม่คิดแต่ว่าอยากให้ลูกมีชีวิตต่อไปไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เราสามารถดูแลเขาได้ จึงตัดสินใจให้หมอผ่าตัดจนสำเร็จและดูแลกันมา

“ในการตัดสินใจรับการผ่าตัดครั้งนั้น ทำให้ลูกมีชีวิตต่อมาได้ รู้สึกดีใจมากเพราะหากในตอนนั้นเราตัดสินใจผิดพลาดคงไม่มีลูกในตอนนี้ เพราะตอนนั้นมีทางเลือกอยู่สองทางคือ จะไม่รับการผ่าตัด หรือ จะรับการผ่าตัด หากเราไม่รับการผ่าตัดในครั้งนั้นและทำให้ลูกเสียชีวิตเราคงเสียใจและนั่งโทษตัวเองว่าทำไมในตอนนั้นถึงไม่เลือกวิธีที่สามารถทำให้ลูกเรารอดชีวิตได้ ทุกวันนี้รู้สึกดีใจที่ตัดสินใจถูกต้อง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่สามารถโทษใครได้ เพราะทีมแพทย์ก็ได้ช่วยเต็มที่แล้วและไม่เคยคิดว่าลูกของเรานั้นเป็นภาระ เพราะอย่างไรก็ตามเขาก็คือลูกของเราไม่ว่าจะเป็นสภาพแบบไหน เพราะยังมีคนอื่นๆ ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ยิ่งกว่าเรา ตอนนี้เรายังเหลือมืออีกสองข้าง ที่ยังสามารถพอช่วยเหลือตนเองได้ “นางทับทิม กล่าว

ขณะที่น.ส.สุทธิดา จ่อแก้ว หรือ น้องเอิง กล่าวถึงความรู้สึกหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งกระดูกว่า ตกใจมากที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งขั้นรุนแรงต้องเข้ารักษาโดยด่วน จึงถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และได้รับการรักษาตามขั้นตอนจึงได้รู้ว่าตนเองต้องตัดขาทั้งสองข้างออก  ก็เข้ารับการผ่าตัดเพราะคิดว่าการมีชีวิตอยู่ต่อไปสำหรับตนถือว่าดีที่สุดแล้ว จะได้อยู่กับครอบครัว เพราะมีกำลังใจสำคัญในการอยากให้มีชีวิตอยู่ต่อ ในช่วงที่รับการรักษาโดยใช้เคมีบำบัดนั้น มีอาการอาเจียน ไม่สามารถกินข้าวหรือดื่มน้ำได้ แต่ต้องพยายามกินให้ได้มากที่สุดพยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุด โดยมีคุณแม่คอยดูแลอยู่ตลอดเวลา ระหว่างการรักษานั้นไม่รู้สึกท้อแท้เพราะเชื่อว่าถ้าผ่านจุดนี้ไปแล้วเราก็จะหาย ซึ่งหลังจากผ่าตัดมา ช่วงแรกยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ต้องให้แม่ช่วยก่อน แต่หลังจากได้รับการส่งตัวไปฝึกแล้วก็สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง เช่น ขึ้นรถเข็นเองได้ เปลี่ยนเสื้อผ้าเองได้ อาบน้ำ ล้างหน้า ทานข้าวเองได้

“อยากฝากถึงคนที่มีอาการหรือกำลังจะเข้ารับการรักษามะเร็งกระดูกเหมือนกันว่า  ถ้าเริ่มมีการหรือรู้สึกเจ็บ ควรจะพบแพทย์ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที อย่ากลัวที่จะได้รับการรักษา ถ้าได้แต่กลัวก็จะไม่หาย พยายามอย่าท้อ ถึงแม้จะทรมานในช่วงที่ฉีดมอร์ฟีน หรือได้รับคีโม แต่ก็ผ่านพ้นไปแล้วจะทำให้หายจากโรคนี้ และมีชีวิตอยู่ต่อไป เพราะแพทย์สมัยนี้เก่ง มีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย รักษายังไงก็หาย หนูมีความเชื่อมั่นในตัวแพทย์ว่าสามารถทำให้หายจากโรคร้ายนี้ได้  และหนูคิดว่าการมีชีวิตอยู่ต่อไปสำหรับหนูถือว่าดีที่สุดแล้ว เพราะกำลังใจที่สำคัญในการอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป อยากฟื้นตัวจากการผ่าตัด คือ ครอบครัวที่คอยอยู่เคียงข้างกันตลอดเวลา”น้องเอิงกล่าวทิ้งท้าย.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้