ชูการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ชูการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จัดประชุมวิชาการล้านนาเมืองสุขภาพ (Lanna Wellness City) ชูการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนารูปแบบการให้บริการอย่างครบวงจร

เมื่อวันที่ 3 ก.ค.62 ที่ ห้องลีลาวดี ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ เภสัชกรอิศรา นานาวิชิต  ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการล้านนาเมืองสุขภาพ (Lanna Wellness City) ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องลีลาวดี ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี

เภสัชกรอิศรา นานาวิชิต  ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมวิชาการล้านนาเมืองสุขภาพ (Lanna Wellness City) ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุขภาพของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งในปีนี้ได้มีการขยายผลการดำเนินงานส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในการพัฒนารูปแบบการบริการน้ำแร่ล้านนา ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่, สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานประชาสัมพันธ์ เขต 3 เชียงใหม่, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน, และสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดลำพูน

ทั้งนี้ในการประชุมวิชาการดังกล่าว มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนชุมชนน้ำพุร้อน มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ชุมชนที่มีกิจกรรมสุขภาพ ให้มีศักยภาพสามารถคิด และออกแบบการบริการสุขภาพให้มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ในหัวข้อ “โอกาสของล้านนาในการเป็น Wellness destination” อาทิ “น้ำพุเพื่อสุขภาพ : โอกาสของประเทศไทยในการเป็น Wellness destination ”, “การพัฒนารูปแบบการบริการน้ำแร่ของประเทศไทย”, “ประสบการณ์การพัฒนาหมู่บ้านน้ำพุร้อนล้านนา” และ “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงแพทย์ภูมิปัญญาไทย” เป็นต้น

ทางด้านนพ.จิโรจ  สินธวานนท์  ที่ปรึกษาอาวุโส  วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานอนุกรรมการพัฒนาสถานประกอบการน้ำพุร้อนเพื่อสุขภาพของประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีน้ำพุร้อนธรรมชาติกว่า 150 แห่งและในพื้นที่ภาคเหนือมีอยู่ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 1ที่เชียงใหม่ก็มีที่น้ำพุร้อนสันกำแพง น้ำพุร้อนดอย แม่ฮ่องสอนก็ที่ขุนยวม น้ำพุร้อนโป่งร้อน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่ดีซึ่งจะมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรองรับสังคมผู้สูงอายุด้วย

“ในการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้น จะต้องสะอาด ปลอดภัย ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งต้องสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและชุมชนที่ต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน การดูแลไม่ให้มีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ทางนายกสมาคมสโมสรน้ำพุร้อนไทย จากจังหวัดกระบี่ก็จะมีแนะนำให้ความรู้ในเรื่องของการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานน้ำพุร้อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เป็นตัวอย่างจากการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติขึ้นมา ซึ่งที่กระบี่ได้รับการรับรองมาตรฐานมา 2 ปีแล้วจากที่มีการเตรียมการด้านต่างๆ มาร่วม 5 ปี”นพ.จิโรจ  กล่าว.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้