ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ ร้องรัฐไทยคืนพื้นที่ความรู้-สิทธิเสรีภาพพลเมือง

ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ ร้องรัฐไทยคืนพื้นที่ความรู้-สิทธิเสรีภาพพลเมือง

เชียงใหม่ (17 ก.ค.60) / “ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา ออกแถลงการณ์ขอคืนพื้นที่ความรู้และสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสังคมไทย เสนอทางออก 4 ข้อ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปสังคมไทยอย่างแท้จริงเมื่อเวลา 15.15 น. ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ “ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา ได้อ่านแถลงการณ์ เรื่องขอคืนพื้นที่ความรู้และสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสังคมไทย โดยมี Miss Tyrell Haberkorn จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เป็นตัวแทนอ่านภาคภาษาอังกฤษ และ ผศ.ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนอ่านภาคภาษาไทยใจความคือตั้งแต่เกิดรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ในปี 2557 เป็นต้นมา สิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง และความรู้ของประชาชนไทยถูกปิดกั้นและบิดเบือน ประชาชนที่มีความเห็นต่างจากรัฐถูกข่มขู่ คุกคาม และจับกุมคุมขัง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวไม่อาจนับเป็นเรื่องเฉพาะของคนภายในประเทศ เนื่องจากไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ที่ต่างยอมรับในหลักการพื้นฐานของการเคารพสิทธิเสรีภาพ และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การแสดงความเห็น การเรียนรู้ รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์“ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา (ซึ่งถืงขณะอ่านแถลงการณ์ มีผู้ร่วมลงชื่อ 177 คน)  เห็นว่าการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ เป็นสถานการณ์ที่น่ากังวล เพราะจะส่งผลให้เกิดการถดถอยทางปัญญา ยิ่งกว่านี้การที่รัฐใช้อำนาจโดยมิชอบละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่มีความเห็นต่าง ก็สร้างความเสื่อมถอยด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในสังคมไทยและประชาคมโลก จึงมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ(1) รัฐต้องเคารพเสรีภาพทางวิชาการ ด้วยการคืนพื้นที่ความรู้ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่ถูกปิดกั้น ครอบงำ หรือบิดเบือน เพราะข้อเท็จจริงจะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของการสร้างความรู้ใหม่ที่หลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาสังคม การเมืองไทย รวมถึงประชาคมโลก (2) รัฐต้องเคารถสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชน ด้วยการคืนอิสรภาพให้แก่นักโทษทางความคิดที่ถูกจับกุมคุมขัง เช่น ผู้ต้องขังในคดีมาตรา 112 และผู้ต้องโทษในคดีที่เกี่ยวกับกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ปี 2553(3) รัฐต้องคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนตามหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างเร่งด่าวน เช่น การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และ (4) รัฐต้องปฏิรูปสถาบันสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะศาลและกองทัพ ที่มักใช้อำนาจอย่างอิสรุ ไม่ยึดโยงกับประชาชน และมีส่วนทำให้สังคมและการเมืองไทยตกอยู่ในสภาวะคับคันดังปัจจุบันแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า การปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อเป็นอย่างน้อยเท่านั้น ที่จะสามารถนำพาสังคมไทยไปสู่ความปรองดอง สมานฉันท์ สันติ และเกิดการปฏิรูปสังคมไทยที่แท้จริงด้วยสติปัญญาและพลังความรู้ ไม่ใช่การใช้อำนาจดิบหยาบปิดกั้นครอบงำพื้นที่ความรู้ดังเช่นทุกวันนี้ด้าน ผศ.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวภายหลังว่า กลุ่มนักวิชาการต้องการสื่อสารถึง คสช. เพราะไม่ว่า คสช.จะพยายามพาประเทศถอยหลังกลับไปเท่าไหร่ หรือพยายามปิดกั้น แต่สิ่งดังกล่าวสวนทางกลับความเป็นจริง เราไม่สามารถย้อนกลับไปได้ แม้ คสช.อาจปรารถนาย้อนกลับไปก่อน พ.ศ.2475 หรือปรารถนาที่จะปิดประเทศ ก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า คสช.ไม่สามารถปิดประเทศได้ จึงถือโอกาสนี้ขอแรงสนับสนุนจากมิตรสหายเหล่านักวิชาการเพื่อสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพทางวิชาการต่อไป.

You may also like

SUN และ EXE มอบอาหารช่วยผู้ลี้ภัยชายแดนเมียนมา

จำนวนผู้