ชาว ต.ป่าหุ่ง ร่าง“ธรรมนูญสุขภาพ” ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

ชาว ต.ป่าหุ่ง ร่าง“ธรรมนูญสุขภาพ” ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ

เชียงราย (25 ก.ค.60) / ชาว ต.ป่าหุ่ง อ.พาน ใช้ทุนทางสังคมที่มีในท้องถิ่น 4 มิติ ร่างธรรมนูญสุขภาพ 10 หมวด ร่วมขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะตำบลอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมความต้องการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม ที่ครอบคลุมทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม ให้เชื่อมโยงกันอย่างสมดุลบนพื้นฐานของวิถีชุมชน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกื้อหนุนให้คนในพื้นที่ดำรงชีวิตอย่างอยู่เย็นเป็นสุข นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด “ธรรมนูญสุขภาพตำบลป่าหุ่ง” อ.พาน จ.เชียงราย เพื่อขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ ตำบลอยู่เย็นเป็นสุขนายนิรันดร์ แปงคำ ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชน ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า จากนโยบาย พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ปี 2550 ทำให้อีก 2 ปีต่อมา เกิดธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติขึ้น  และในปี 2553 ก็เริ่มเกิดธรรมนูญสุขภาพในระดับตำบลหลายแห่ง ซึ่งแม้ ต.ป่าหุ่ง จะไม่ใช่ตำบลแรกใน อ.พาน ที่ริเริ่มจัดทำธรรมนูญสุขภาพ เพราะเพิ่งเริ่มทำในปี 2556 โดยของบประมาณจากสภาองค์กรชุมชน  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนในพื้นที่“กระบวนการได้มาของธรรมนูญฉบับนี้ มีการตั้งคณะทำงาน 3-4 ชุด ชุดแรกเป็นแกนนำระดับตำบล เช่น กำนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ ชุดต่อๆ มา จึงเป็นคณะกรรมการยกร่าง คณะกรรมการสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลป่าหุ่ง ซึ่งในการยกร่างคำนึงถึง 4 มิติ จากทุนทางสังคมที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ มิติศาสนา วัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, มิติด้านนโยบาย เช่น นโยบายการเมืองท้องถิ่น นโยบายรัฐบาล มิติด้านอัตลักษณ์ของตำบล ดังคำขวัญว่า แผ่นดินป่าต้นน้ำ งดงามถ้ำผาโขง พระธาตุสามดวงยืนยง สูงส่งวัฒนธรรม,  มิติจาก พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ” นายนิรันดร์ อธิบายทั้งนี้ได้แยกเป็น 10 หมวด ประกอบด้วย หมวดที่ 1 ปรัชญา แนวคิด และเจตนารมณ์ของธรรมนูญสุขภาพ, หมวด 2 การพัฒนาระบบสุขภาพที่พึงประสงค์, หมวด 3 การส่งเสริมสุขภาพและภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ, หมวด 4 การควบคุมป้องกันภาวะคุกคามต่อสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย, หมวด 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสวัสดิการชุมชน, หมวด 6 การสร้างเสริมสุขภาพด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญา, หมวด 7 การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค การป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและชุมชน, หมวด 8 การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และเกษตรกรรม เพื่อสุขภาพ, หมวด 9 การจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า อากาศ และภัยพิบัติ, หมวด 10 สังคมชุมชนตำบลแห่งการเรียนรู้ผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชน ต.ป่าหุ่ง ย้ำว่า การแยกธรรมนูญเป็น 4 มิติ และให้เจ้าของมิติเป็นผู้เสนอเอง เช่น สภาหมอเมืองล้านนาเป็นผู้เสนอ หมวด 3 เมื่อเสนอแล้วก็ต้องทำด้วย ผลักดันให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้า โดยในการบังคับใช้ มีลายเซ็นผู้นำระดับตำบลกำกับ และให้ขับเคลื่อนในสายของตัวเอง เช่น กำนัน นายก อบต.  รพ.สต. อสม. สภาวัฒนธรรมตำบล สภาผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน สภาหมอเมืองล้านนา ฯลฯ ซึ่งสังเกตพบว่ามิติด้านศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาขับเคลื่อนได้ดีที่สุด เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ใช้หลักศีล 5 ขับเคลื่อนการงดเหล้าเข้าพรรษา รวมถึงงานศพปลอดเหล้า ในการเคารพศพใช้กล้าไม้แทนพวงหรีด ลดการเผา ซ้ำเจ้าภาพนำไปปลูกใช้ประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่จุดธูปในการเคารพศพ แต่ใช้กรวยดอกไม้หรือดอกไม้จันทน์แทน เพื่อลดมลภาวะที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเดินหายใจ ด้านภูมิปัญญา มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกและใช้สมุนไพรทุกครัวเรือน มีพิธีเรียกขวัญ สืบชะตา เติมกำลังใจ และเกิดสุขภาพทางสังคม นอกจากนี้ยังหนุนเสริมให้ชาวบ้านมีคุณธรรม มีจิตอาสา เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ซึ่งการขับเคลื่อนเหล่านี้ ส่งผลถึงสิ่งแวดล้อมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า หมอกควัน และสำคัญที่สุดคือทำให้ชาว ต.ป่าหุ่ง มีสุขภาวะที่ดี สมดุลในทุกๆ ด้าน.

You may also like

“ส.ว.ก๊อง”ลั่นลงสมัครป้องกันแชมป์สมัยหน้าในนามพรรคเพื่อไทย แย้มครั้งนี้ “ทักษิณ” ขอเป็นผู้ช่วยหาเสียง พร้อมลงพื้นที่ 25 อำเภอ

จำนวนผู้