ชลประทานเชียงใหม่เผยแผนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งยันน้ำมีเพียงพอแต่ยังรณรงค์ให้ประหยัดและปฏิบัติตามแผนบริหารน้ำที่กำหนด

ชลประทานเชียงใหม่เผยแผนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งยันน้ำมีเพียงพอแต่ยังรณรงค์ให้ประหยัดและปฏิบัติตามแผนบริหารน้ำที่กำหนด

- in headline

ชลประทานเชียงใหม่เผยฤดูแล้งนี้มีน้ำเพียงพอสำหรับเพาะปลูก และสนับสนุนทุกกิจกรรม วอนแม้ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมีมากแต่ยังรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด และปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำ

นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม รักษาการแทนผอ.โครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำและแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2560/2561 ว่า  ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ ชลประทานตลอดในช่วงฤดูแล้งปี 2560/2561 แต่ยังคงรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด

สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบัน (28 ธ.ค. 60) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 508 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 76  ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ร้อยละ 70 ของปริมาณน้ำเก็บกักรวมทั้งหมด เฉพาะ 2 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนแม่กวงอุดมธารา        มีปริมาณน้ำรวมกัน 363    ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 68 มีปริมาณเพียงพอต่อการจัดสรรน้้าให้แม่น้ำปิง      ตลอดความยาวลำน้ำ ตั้งแต่อำเภอแม่แตงจนถึงอำเภอดอยเต่า

ทั้งนี้สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้วางแผนจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2560/2561 (ระหว่าง 1 ม.ค. 61- 30 พ.ค. 61)        เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในเขตชลประทานลุ่มน้ำปิงตอนบน คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งสิ้น 194 ล้าน ลบ.ม. แยก เป็นการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 173 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภค-บริโภค การประปา 20 ล้าน และสนับสนุนเทศกาล สงกรานต์/คูเมือง 1 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีก 113 ล้าน ลบ.ม. จะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเดือนมิถุนายน – กรกฏาคม 2561

รักษาการแทนผอ.โครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับการวางแผนกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ในเขตลุ่มน้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่  ไว้ทั้งสิ้น ประมาณ 251,417 ไร่ ประกอบด้วย ข้าวนาปรัง ร้อยละ 37 พืชไร่-พืชผัก ร้อยละ 16  ไม้ผล ร้อยละ 45 และพืชอื่นๆ ร้อยละ 2  

“โครงการชลประทานเชียงใหม่ ขอย้ำว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก      ทั้งจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีปริมาณเพียงพอที่จะจัดสรรน้ำให้กับทุกภาคส่วน   ซึ่งแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ การวางแผนจัดสรรน้ำ/การใช้น้ำทุกกิจกรรมโดยมีการชี้แจงข้อมูล และประชาสัมพันธ์ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รับทราบ รวมถึงการตรวจสอบสภาพอาคารควบคุมการไหลในทางน้ำเพื่อควบคุมบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ”นายเกื้อกูล กล่าวและว่า

สำหรับในเรื่องการมีส่วนร่วมได้ ประชุมการกำหนดข้อตกลง/กติกาในการบริหารจัดการน้ำ และบังคับใช้ทั้งลุ่มน้ำ โดยยังคงรูปแบบการบริหารเช่นเดียวกับ ปี 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการมอบอำนาจในการควบคุม/บริหาร จัดการปริมาณน้ำที่ส่งจากเขื่อนแม่งัดฯ ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำในลำน้ำสาขาแม่น้ำปิง โดยสำนักงานชลประทานที่ 1  สำหรับการบูรณาการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัยแล้ง วางแผนการมอบหมายพื้นที่ความรับผิดชอบให้กับเจ้าหน้าที่รายอำเภอ รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องสูบน้้า เพื่อให้ความช่วยเหลือพื้นที่ ประสบภัยแล้ง ทั้งนี้สามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนข้อมูล การขอใช้เครื่องสูบน้ำได้ที่โครงการชลประทานเชียงใหม่ 186/4 ต้าบลดอนแก้ว อ้าเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 053 11 22 00 ต่อ 106

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำมาก แต่ยังคงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ให้ร่วมแรงร่วมใจ รณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และปฏิบัติตามแผนจัดสรรน้ำที่ได้วางไว้ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดความมั่นคงใน ด้านการใช้น้ำอย่างยั่งยืนตลอดปี 2561

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้