ขอจัดตั้งรูปปั้นจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ในฐานะคนสำคัญของวงการศิลปวัฒนาธรรมล้านนา

ขอจัดตั้งรูปปั้นจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ในฐานะคนสำคัญของวงการศิลปวัฒนาธรรมล้านนา

- in headline, รอบรั้วทั่วเหนือ

คณะกรรมการจรัลรำลึก ประสานจังหวัดเชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่ขอจัดตั้งรูปปั้นจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ในฐานะคนสำคัญของวงการศิลปวัฒนาธรรมล้านนา เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของงานศิลปะ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

วันนี้ (13 ก.ค. 64) ที่ ห้องประชุม 4 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ประธานคณะกรรมการจรัลรำลึก กล่าวในที่แถลงข่าวสื่อมวลชนประจำสัปดาห์จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 38/2564 ว่า จุดเริ่มต้นของโครงการจรัลรำลึก เกิดจากการชักชวนคนที่รักและคิดถึงจรัล มโนเพ็ชรมาร่วมพูดคุย เสวนาและจัดตั้งคณะกรรมการจรัลรำลึก ขึ้นมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 โดยกำหนดเป้าหมายระดมทุนให้ได้ 5 แสนบาทเพื่อสร้างอนุสรณ์สถานเป็นประติมากรรมของศิลปินล้านนาซึ่งจากไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 และจะครบรอบ 20 ปีในวันที่ 3 กันยายน 2564 นี้

เมื่อต้นปี 2564 ได้เริ่มงานปั้นประติมากรรมโดยมีรศ.ดร.สุกรี เกษรเกศรา เป็นผู้ออกแบบสเก็ตช์ภาพจรัล นั่งดีดกีตาร์อยู่บนเก้าอี้ไม้ตัวยาวโดยผ่านการพิจารณาและเห็นของชอบคณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งคณะกรรมการฯได้มอบหมายให้อาจารย์ภูธิป บุญตันบุตรเป็นประติมากรปั้นรูปจรัล มโนเพ็ชร ด้วยดินเหนียวตามแแบบสเก็ตช์ขนาดเท่าตัวจริงและอาจารย์อัษฏายุธ อยู่เย็น มาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะด้านกายวิภาค นอกจากนี้นางอันยา โพธิวัฒน์คู่ชีวิตจรัล มโนเพ็ชร ได้มาให้คำปรึกษาในระหว่างการปั้นและได้มอบเครื่องใช้ส่วนตัวหลายอย่างของจรัลให้เป็นแบบในการปั้นจนงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี

ปัจจุบัน งานปั้นประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชร อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายคือการหล่อที่โรงหล่อ อำเภอสันกำแพง และคาดว่าจะสำเร็จเรียบร้อยประมาณปลายเดือนสิงหาคม   เพื่อให้ทุกคนที่รับในผลงานศิลปินล้านนาผู้นี้ได้ร่วมระลึกนึกถึงการจากไปในวาระครบรอบ 20 ปีช่วงต้นเดือนกันยายน สำหรับสถานที่ตั้งของประติมากรรม นั้น ทางคณะกรรมการฯ ได้สำรวจสถานที่ต่างๆ ในเขตเมืองเชียงใหม่ 8 แห่งคือประตูท่าแพ,ประตูเชียงใหม่,สวนบวกหาด,สวนรุกขชาติ,วัดฟ่อนสร้อย,วัดเจ็ดลิน,หน้าสถานีรถไฟเชียงใหม่และหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาริมทางเดินบนถนนพระปกเกล้า ซึ่งคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาแล้ว เห็นว่าบริเวณด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาริมทางเดินบนถนนพระปกเกล้า เป็นสถานที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากบริเวณนี้มีประชาชนเชียงใหม่และผู้มาเยือนสามารถเข้ามาได้หลายทิศทาง ดังนั้นการตั้งประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชร บริเวณนี้เสมือนผู้คนได้พบตัวแทนคนสำคัญของวงการศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นการเพิ่มคุณค่า และความสำคัญของงานศิลปะ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น และได้มีการประกาศเจตนารมณ์ เรื่องแนวทางและสถานที่จัดตั้งประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชร

ประธานคณะกรรมการจรัลรำลึก กล่าวอีกว่า หลังจากคณะุกรรมการฯได้ประกาศเจตนารมณ์เรื่องแนวทางและสถานที่จัดตั้งประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชรเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2564 ที่ผ่านมา และมีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้จัดตั้งที่หน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา และทางคณะกรรมการฯ จะนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เพื่อประกอบการพิจารณาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางการจัดตั้งประติมากรรมจรัล มโนเพ็ชร ที่เหมาะสมต่อไป.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้