“ขยะ”จัดการได้…ถ้าเริ่มต้นที่ครัวเรือน

“ขยะ”จัดการได้…ถ้าเริ่มต้นที่ครัวเรือน

ยะล้นเมือง ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งแพร่พันธุ์แมลงวัน น่าขยะแขยง…สารพัดปัญหาจากขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน และผู้นำในท้องถิ่นเป็นอย่างยิ่ง จนต้องเร่งหาทางแก้ไข ซึ่งพบว่าหลายแห่งสามารถทำได้ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ ต้องฝ่าฟันกับแนวคิด รวมถึงความเคยชินเดิมๆ ของคนในชุมชน จนก่อให้เกิดการยอมรับ สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิด และพฤติกรรมดังเช่นที่บ้านทุ่งอ่าง หมู่ 6 ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย ที่มีประชากรอาศัยอยู่ 107 ครัวเรือน 403 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร รองลงมาคือค้าขาย เดิมที่หมู่บ้านนี้มีบ่อขยะที่ใช้ร่วมกับหมู่ 15 บ้านทุ่งอ่างใหม่ ชาวบ้านจึงนำขยะมาทิ้งโดยไม่มีการจัดการ จนปริมาณมากขึ้นเกิดปัญหาขยะล้นบ่อ สงกลิ่นเหม็น มีแมลงวันตอมจำนวนมาก แถมขยะอีกส่วนหนึ่งยังถูกทิ้งตามหัวไร่ปลายนาประเสริฐ สมทะนะ ผู้ใหญ่บ้านทุ่งอ่าง เล่าว่า ปี 2559 คณะกรรมการกลางพัฒนาหมู่บ้านได้หารือกัน และมีข้อตกลงเห็นชอบจากคนในชุมชนให้ปิดบ่อขยะ ประจวบเหมาะกับทาง อ.เชียงของ ได้ประกาศวาระเชียงของเมืองสะอาด จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์คัดแยกขยะต้นทางทุกครัวเรือน มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการขยะโดยชุมชน 1 คณะ จำนวน 15 คน เป็นกรรมการที่คัดเลือกมาจากแกนนำกลุ่มต่างๆ คือ คณะกรรมการกลางพัฒนาหมู่บ้าน ประธาน อสม. ประธานกลุ่มพัฒนาสตรี ประธานกลุ่มแม่บ้านครัวสะอาด คณะกรรมการประจำหมวด พร้อมทั้งออกกฎ กติกา แล้วให้มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเมื่อคนในชุมชนคัดแยกขยะแล้ว จะนำมาแลกคูปองซื้อของอุปโภคบริโภคในกองทุนร้านค้าแต่ไม่ขายได้ ทุกวันที่ 23 ของเดือน ขณะเดียวกันก็สร้างแรงจูงใจเป็นของรางวัลสำหรับหมวดบ้านที่มีการพัฒนาการจัดการขยะดีเด่น ส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน นำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ หรือนำไปไว้ที่สวนของผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะมีถังไว้คอยรองรับ ส่งเสริมให้มีการทำน้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน จัดทำเสวียน สำหรับสถานที่สาธารณะในหมู่บ้านและในครัวเรือน อบรมการเยงไส้เดือนดินเพื่อเป็นแนวทางจัดการขยะอินทรีย์ สนับสนุนให้โรงเรียนบ้านทุ่งอ่างใช้หลักปฏิบัติ 3 ก. คือ กิน เก็บ และนำกลับมาจัดการที่บ้าน  ให้ความรู้และกระตุ้นให้คนในชุมนตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำ   ส่วนขยะประเภทโฟม ทางหมู่บ้านจะไม่รับซื้อ และยังรณรงค์ให้ร้านค้าชุมชน งดใช้โฟมบรรจุอาหาร แต่ส่งเสริมให้ใช้วัสดุธรรมชาติบรรจุอาหารในกิจกรรมของชุมชนทุกครั้ง ส่งผลให้ปริมาณขยะลดลง โดยปริมาณขยะที่ทิ้งตามทางสาธารณะ หรือเรือกสวนไร่นา ลดลง 100% และเมื่อประเมินระยะ 8 เดือน ก็พบว่าขยะรีไซเคิล ประเภทถุงพลาสติก ลดลง 64.47% กล่องนมลดลง 72.13% ขวดแก้วลด 53.72% พลาสติกลดลง 72.91% กระดาษแข็งลด 68.29% กระดาษรวมลดลง 92.30% ขยะติดเชื้อ และขยะอันตราย ก็ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม กลายเป็นวัฒนธรรมของหมู่บ้านที่ร่วมกันสร้างมาตรการทางสังคม คอยสอดส่องดูแลและต่อต้านผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎกติกา และได้เป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะดีเด่นระดับจังหวัดด้วยอีกพื้นที่หนึ่ง ที่สามารถจัดการกับปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือที่เทศบาลตำบลหนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีประชากรมากถึง 4,347 คน ประกอบด้วย 7 ชุมชน ประกอบกับมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ ทำให้มีประชากรแฝงทั้งคนไทย และแรงงานต่างด้าว แนวโน้มของปริมาณขยะจึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนประสบปัญหาพื้นที่ทิ้งขยะแบบฝังกลบ 1.5 ไร่ ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการรองรับ ต้องขนไปทิ้งต่างพื้นที่เกรียงไกร  ทวีกาญจน์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองพลับ บอกว่า ขยะที่จัดเก็บวันละประมาณ 3.2 ตัน เป็นขยะโรงงาน 1.9 ตัน และขยะชุมชน 1.3 ตัน จึงเกิดแนวคิดจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง คือระดับครัวเรือน โดยทำข้อตกลงกับชุมชน ยกเลิกการใช้ถังขยะขนาดใหญ่ 200 ลิตร เปลี่ยนมาเป็นขนาดเล็ก 20 ลิตร  ยกเลิกถังขยะที่วางอยู่ริมทาง และริเริ่มชุมชนนำร่องจัดการขยะต้นทาง สู่ชุมชนลดการใช้โฟมและพลาสติก เทศบาล ได้ทำสัญลักษณ์ “แยกประเภทขยะ” เช่น การใช้ถุงแยกสี สติกเกอร์แยกประเภท เชือกสี เทปกาว หรือสัญลักษณ์อื่นๆ“เราให้ทุกบ้านคัดแยกขยะและจำแนกขยะรีไซเคิลไว้ขายเองตามบ้านเรือน จัดกิจกรรมรณรงค์ 3 ช. คือใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ ส่วนขยะอันตรายจะห่ออย่างมิดชิด เพื่อนำไปส่งมอบให้เจ้าหน้าที่เทศบาลในเวทีประชุมต่างๆ หรือฝากรถขยะของเทศบาลให้นำมาเก็บไว้ที่กองสาธารณสุขฯ พนักงานจะได้นำไปจัดการอย่างถูกวิธี และ ทต.หนองพลับ ยังออกเทศบัญญัติการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยมาใช้ ส่งผลให้ชุมชนในเขตเทศบาลจัดการขยะเปียกในครัวเรือนได้ 100% ปริมาณขยะลดลงอย่างเห็นได้ชัด” เกรียงไกร อธิบาย     นอกจากวางแผนขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนพื้นที่ผ่านเวทีการประชุมสภาผู้นำชุมชนแล้ว ยังมีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เช่น สภ.บ้านหนองพลับ โรงเรียนหนองพลับวิทยา รพ.สต.หนองพลับ บริษัทโดลไทยแลนด์ จำกัด ฯลฯ เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม.

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้