กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกให้งบ 108 ล้านบาทให้อบก.ขับเคลื่อนและจับมือ 4 เทศบาลหัวเมืองใหญ่ นำร่องโครงการลดก๊าซเรือนกระจก

กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกให้งบ 108 ล้านบาทให้อบก.ขับเคลื่อนและจับมือ 4 เทศบาลหัวเมืองใหญ่ นำร่องโครงการลดก๊าซเรือนกระจก

กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกให้งบ 108 ล้านให้อบก.ขับเคลื่อนและจับมือ 4 เทศบาลหัวเมืองใหญ่ นำร่องโครงการลดก๊าซเรือนกระจก ตั้งเป้า 4 ปีลดได้ 1.77 แสนตัน หลังไทยไต่มาอยู่ในอันดับ 21 ของโลกแต่อันดับ 2 ของอาเซียน วันที่ 22 ส.ค.60 ที่โรงแรมแคนทารีฮิลล์ นางประเสริฐสุข จามรมาน ผอ.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก.) และนางเดียร์ดรา บอยด์(Mrs.Deirdre Boyd) ผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ประจำประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ ผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืนระหว่างนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่,นายธณาวุธ ก้อนใจจิตร รองปลัดเทศบาลนครขอนแก่น,นายรามเนตร ใจกว้าง นายกเทศมนตรีนครเกาะสมุยและนายสหพล กาญจนเวนิช รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครราชสีมา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองในระดับท้องถิ่นของประเทศไทย ให้มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นางประเสริฐสุข จามรมาน ผอ.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืนนี้ เป็นความร่วมมือจะช่วยเมืองลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน และเตรียมเทศบาลให้เป็นสังคมที่มีความพร้อม รับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ และความร่วมมือนี้ถือเป็นการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำให้การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำเกิดขึ้นได้จริงและยั่งยืน

“โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกจำนวน 3.15 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 108 ล้านบาท ซึ่งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการและร่วมสนับสนุนทรัพยากรในการดำเนินงานร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยเลือก 4 พื้นที่ซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่มานำร่องคือเทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครเกาะสมุยและเทศบาลนครราชสีมา โดยทั้ง 4 แห่งจะสนับสนุนการดำเนินโครงการในรูปแบบบุคลากรและงบประมาณการลงทุนในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6,300 ล้านบาทภายในระยะเวลา 4 ปี”ผอ.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวและชี้แจงอีกว่า

เป้าหมายของโครงการคือจะต้องลดปริมาณก๊าซคาร์บอนลงจากเดิมเนื่องจากแนวโน้มประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น โดยตัวเลขเมื่อปี 2015 อยู่ที่ 300 กว่าตันหรือ 0.9% ถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ซึ่งอันดับ 1 คือจีน รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา และไทยยังเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นเป้าหมายทั้ง 4 เมืองจะต้องลดก๊าซเรือนกระจำภายใน 4 ปีที่ดำเนินโครงการนี้จำนวน 1.77 แสนตัน ลดการใช้น้ำมันลง 25 ล้านตัน

“ที่คุยๆ กันเบื้องต้นเทศบาลนครเชียงใหม่ก็อยากได้สถานีชาร์ตแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้า เทศบาลนครราชสีมาจะทำเรื่องการจัดการขยะ น้ำเสียและการจัดระบบโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เทศบาลเกาะสมุยซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวก็อยากทำเรื่องจัดการขยะของเสีย และเทศบาลขอนแก่นซึ่งมีเรื่องระบบขนส่งมวลชนแล้วก็อยากจะได้พลังงานทดแทนโดยจะทำโซล่าลูปในส่วนของที่เป็นตลาดทั้งหมดในเขตพื้นที่เพื่อใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทางด้านนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า แนวทางที่จะลดก๊าซเรือนกระจกนั้นเทศบาลนครเชียงใหม่ได้วางแผนดำเนินงานไว้ 3 ส่วนคือ ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ถ้าระบบดีและตอบสนองความต้องการประชาชนจะลดการใช้รถส่วนตัว ลดการจราจรและลดก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากไอเสียเครื่องยนต์ ประการต่อมาคือเรื่องของการจัดการขยะ โดยจะลดปริมาณขยะจากวันละ 330 ตันลงโดยการหาวิธีการใหม่แต่ได้ผลมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคือเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับคาร์บอน

นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับเทศบาลนครเชียงใหม่แหล่งคาร์บอนส่วนใหญ่มาจากยานพาหนะ เพราะมีรถที่จดทะเบียนกว่า 2 ล้านคันและประมาณ 30% จะวิ่งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนที่เทศบาลฯจะดำเนินการก็คาดว่าจะสามารถลดคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกลงได้ รวมทั้งเรื่องของการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และต่อไปเทศบาลฯจะปลูกต้นไม้ที่มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนได้ดีให้มากยิ่งขึ้นด้วย.

You may also like

builds มช. ขนทัพสตาร์ทอัพนักศึกษาคับคั่ง พิสูจน์ความสำเร็จ ตั้งบริษัทจริงระหว่างเรียน

จำนวนผู้