กองทัพฯส่งไม้ให้แม่ทัพน้อยที่ 3 รับช่วง เสนอให้อำนาจนายอำเภอบริหารสั่งการ ฟื้นป่าเปียกสร้างจิตสาธารณะ

กองทัพฯส่งไม้ให้แม่ทัพน้อยที่ 3 รับช่วง เสนอให้อำนาจนายอำเภอบริหารสั่งการ ฟื้นป่าเปียกสร้างจิตสาธารณะ

ปิดกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือฯ ส่วนหน้า รองแม่ทัพภาคที่ 3 ส่งไม้ให้แม่ทัพน้อยที่ 3 รับช่วงต่อ พร้อมทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีเสนอแนวทางแก้ปัญหา ต้องให้นายอำเภอมีอำนาจบริหารสั่งการ ยันระบบ Single Command ใช้ภาพรวมระดับจังหวัดไม่ได้เหตุสภาพพื้นที่แตกต่างกัน ฟืนระบบป่าเปียกและสร้างจิตสาธารณะในการแก้ไขปัญหา

วันที่ 26 ก.พ.62 ที่สโมสรกาวิละ ค่ายกาวิละ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พลตรี บัญชา   ดุริยพันธ์  รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานแถลงการปิดกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า โดยกล่าวว่า เนื่องจากห้วงเวลาที่ผ่านมาพบว่าค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่  สภาพภูมิประเทศ ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ และมีภูเขาล้อมรอบ  สภาพภูมิอากาศ ที่ลมสงบนิ่ง ไม่มีลมพัดผ่าน ที่เอื้ออำนวยการกักตัวของมลพิษ และ และ การกระทำของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวมากที่สุด         ตามที่ กองทัพภาคที่ 3 จึงให้มาจัดตั้ง กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวอีกว่า ตลอดช่วง 13 วันที่ผ่านได้สร้างระบบและกลไกในการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบจากหมอกควันที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนและเรื่องของการสร้างจิตสาธารณะ ซึ่งแรกๆ ในการขับเคลื่อนอาจจะขลุกขลักบ้าง เพราะต่างคน ต่างภาระหน้าที่ ต่างหน่วยงานแต่ต่อมาการทำงานก็เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของจังหวัดลำพูน ลำปาง

“จากนี้ไปกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือจะไปอยู่ที่พิษณุโลก และไม่มีคำว่าส่วนหน้า แต่จะมีแม่ทัพน้อยที่ 3 เป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานในเรื่องของการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆและทำแอคชั่นแพลนในเรื่องนี้ ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนทำต่อเพราะระบบวางไว้หมดแล้ว และหากสถานการณ์มันรุนแรงจนแม่ทัพน้อยที่ 3 คิดว่าไม่ไหวจะให้กองทัพเข้ามาช่วยสนับสนุนก็ร้องขอไปใหม่ได้ เพราะผมเองก็มีงานอื่นที่ต้องไปทำต่อ”พล.ต.บัญชา กล่าวและชี้แจงอีกว่า

สิ่งที่จะนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและนายกรัฐมนตรี จากการปฏิบัติงานของกองบัญชาการฯพบว่าจะต้องระบบซิงเกิ้ลคอมมาน จะต้องอยู่ที่อำเภอ ให้นายอำเภอเป็นผู้บริหารสั่งการ เนื่องจากรู้สภาพพื้นที่ รู้ปัญหา รู้จักประชากร ไม่ใช่ใช้ระบบใหญ่อยู่ที่จังหวัดและสั่งการในภาพรวม ต้องให้นายอำเภอเป็นผู้บริหารสั่งการ การจัดการเชื้อเพลิงช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม แค่ไหน อย่างไรนายอำเภอรู้ดี จะมากำหนดเป็นภาพกว้างไม่ได้ ระบบซิงเกิ้ลคอมมานอำเภอต้องให้ทั้งคนและงบประมาณให้นายอำเภอจัดการ นายอำเภอไหนทำไม่ได้ ผู้ว่าฯก็สั่งย้ายได้

พล.ต.บัญชา กล่าวอีกว่า อีกประเด็นที่ตอ้งดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันฯคือระบบป่าเปียกต้องถูกรีเซ็ทใหม่ หลายพื้นที่ที่เกิดไฟป่าเกิดจากคนเข้าป่าไปล่าสัตว์หาของป่า และเป็นเขตป่า เขตอุทยาน ป่าอนุรักษ์ เจ้าหน้าที่อุทยาน เจ้าหน้าที่ป่าไม้มีไม่เพียงพอ และมาตรการปิดป่าทำได้แค่ไหน การบังคับใช้กฎหมายยังไม่จริงจัง ทั้งท้องถิ่นและส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จะต้องรณรงค์ในเรื่องการสร้างจิตสาธารณะให้มากขึ้น ไม่ใช่คอยเกี่ยงกันว่าอันนี้เขตตำบล อำเภอหรือจังหวัดนั้น นี้ แต่เมื่อเกิดเหตุต้องช่วยกัน

“ปีนี้จะเห็นว่าการเผาในพื้นที่การเกษตรลดน้อยลง ประชาชนเขาให้ความร่วมมือ แต่ไฟป่าที่เกิดขึ้น เกิดในที่สาธารณะ ป่าข้างทาง ในป่าลึก ในเขตป่าไม้ เขตอุทยาน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบจะต้องมีการโซนนิ่ง ซึ่งนายอำเภอรู้ดี นายอำเภอจะต้องมีวิสัยทัศน์ รู้ปัญหาที่แท้จริงถึงจะแก้ไขปัญหาได้ นายอำเภอจะต้องเข้มแข็ง อำเภอไหนที่เสี่ยงเกิดไฟป่านายอำเภอต้องรู้และวางแผน มีการบริหารจัดการที่ดีควรแยกกำหนดมาตรการในแต่ละอำเภอตามความจำเป็นที่แตกต่างกัน โดยให้ นายอำเภอ มีอำนาจบริหารจัดการในพื้นที่  สำหรับพื้นที่นำร่องที่จะฟื้นเรื่องป่าเปียกคือที่ ดอยพระบาท จังหวัดลำปาง ซึ่งได้มีการพูดคุยกันในระดับปฏิบัติงานแล้ว”รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวชี้แจง.

You may also like

ผบ.นบ.ยส.35 ลงพื้นที่อำเภอไชยปราการ เพื่อตรวจเยี่ยมกำลังพลเพิ่มความเข้มก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้