กฟผ. จับมือ STeP จัด Business Model Canvas Pitching Challenge เฟ้นหาผู้ประกอบการที่มีแผนธุรกิจโดดเด่น ชิงโล่และเงินรางวัลสูงสุด 50,000 บาท

กฟผ. จับมือ STeP จัด Business Model Canvas Pitching Challenge เฟ้นหาผู้ประกอบการที่มีแผนธุรกิจโดดเด่น ชิงโล่และเงินรางวัลสูงสุด 50,000 บาท

กฟผ. จับมือ STeP จัดกิจกรรม Business Model Canvas Pitching Challenge เฟ้นหาผู้ประกอบการที่มีแผนธุรกิจโดดเด่น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบในโครงการฯ ได้มีพื้นที่นำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุนชิงโล่และเงินรางวัลสูงสุด 50,000 บาท

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 08.30 น.ณ ปางหลวง การ์เด้น จังหวัดลำปาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) จัดกิจกรรม Business Model Canvas Pitching Challenge ภายใต้โครงการเพิ่มทักษะด้านการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะโดยใช้แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบในโครงการฯ ได้มีพื้นที่นำเสนอแผนธุรกิจต่อนักลงทุน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการต่อยอดธุรกิจในอนาคต


นายมาโนช ชูชาติวรรณกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ (ชชม.) ประธานการจัดกิจกรรมฯ กล่าวว่า ด้วยพื้นที่อำเภอแม่เมาะ เป็นพื้นที่ที่อาศัยการขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมการผลิตกระแสไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ ซึ่งมีนโยบายการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการของประเทศควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการใช้ศักยภาพขององค์กรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทว่าผู้ประกอบการในพื้นที่ยังขาดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาธุรกิจในหลากหลายมิติ ส่งผลให้ไม่สามารถต่อยอดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนได้เท่าที่ควร ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างแก่ผู้ประกอบการในทุกภาคส่วน โครงการเพิ่มทักษะด้านการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะโดยใช้แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด นับเป็นกลไกหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายสนับสนุนการทำงานและการขยายผลเชิงพาณิชย์ให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการรับมือและมีช่องทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ นำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้เพิ่มสูงขึ้น

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า กิจกรรม Business Model Canvas Pitching Challenge นี้ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการเพิ่มทักษะด้านการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ โดยใช้แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมบูรณาการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นในธุรกิจของตนเอง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ วางแผนการตลาด เพิ่มความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี รวมถึงสร้างระบบการทำงานที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ และกระตุ้นให้เกิดการเรียบเรียงแนวคิดสู่การวางแผนธุรกิจได้อย่างจริงจังและลงมือปฏิบัติได้จริง รวมทั้งในกิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจากผู้แทนธุรกิจการค้าปลีกชั้นนำของประเทศร่วมพิจารณาคัดเลือกและแนะนำมุมมองจากนักลงทุนให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย

สำหรับการจัดกิจกรรม Business Model Canvas Pitching Challenge จัดขึ้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30-13.30 น. โดยเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 7 ราย นำเสนอแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) ต่อนักลงทุน ผ่านการซักถามชี้แนะและคัดเลือกจากคณะกรรมการ เพื่อค้นหาผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจโดดเด่น จำนวน 3 กิจการ ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับโล่ The Best Pitching พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลที่ 2 รับเงินรางวัล 30,000 บาท และรางวัลที่ 3 รับเงินรางวัล 10,000 บาท ตามลำดับ

You may also like

 รมช.คมนาคมเปิดการทดลองเดินรถโดยสารHOP&GO เชื่อมโยงโครงข่ายสาธารณะไปยัง 7 แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่

จำนวนผู้